ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนกับนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

สันต์ชัย พูลสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารจัดการโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจังหวัดเชียงราย 2) ศึกษาการบริหารจัดการตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงราย 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการโรงเรียนตำรวจตระเวณชายแดนกับนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก รายด้านพบว่า ด้านการบริหารจัดการทั่วไป รองลงมาด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานการเงิน พัสดุ และทรัพย์สิน และด้านการบริหารงานวิชาการ 2) การบริหารจัดการโรงเรียนตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก รายด้านพบว่าด้านการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง รองลงมา ด้านการส่งเสริม พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้านการจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันด้านโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมการเข้าถึงบริการทางการศึกษา และด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาค ทุกส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการโรงเรียนตำรวจตระเวณชายแดนกับนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับสูงและไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 รายด้านพบว่า ด้านการบริหารวิชาการ และด้านการบริหารการเงิน พัสดุ และทรัพย์สินอยู่ในระดับสูง และด้านการบริหารจัดการทั่วไป และด้านการบริหารงานบุคคลอยู่ในระดับปานกลาง และไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนชัย มะธิปิไขย, จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์, สอาด บรรเจิดฤทธิ์, บุญเรือง ศรีเหรัญ. (2557). สัมฤทธิผลของการบริหารโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในเขตพื้นที่ภาคเหนือ. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น , ปีที่ 8 ฉบับที่ 1, 129-136.
พาทิพย์ ชมคำ. (2554). การมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
มะลิกามาศ เสงี่ยมแก้ว. (2550). การนำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
วินัย รูปขำดี. (2551). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการบริหารงานกับผลการดำเนินงานตามความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องในโรงเรียนเรียนร่วมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตามแนวคิดโครงสร้างซีท (SEAT) ในจังหวัด กำแพงเพชร ประจำปีการศึกษา 2549. วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ, ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน).
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). แนวคิดทฤษฏีและประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : ทิพยวิสุทธิ์.
สงวนพงศ์ ชวนชม. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 เดือน ธันวาคม, 62- 68.
สุทัศน์ คร่ำในเมือง. (2553).รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารเพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์น, 42-54.
สุริชัย หวันแก้ว. (2550). คนชายขอบ: จากความคิดสู้ความจริง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Abramowitz, R. (2004). A case study of planning and implementing whole-school reform at a middle school. Retrieved December, 2019, from http://www.lib.umi.