การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยโดยใช้¬กิจกรรมการเล่านิทาน

Main Article Content

ดารินี ภู่ทอง
เพชราวลัย ถิระวณัฐพงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดประสบการณ์การเล่านิทาน ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้¬กิจกรรมการเล่านิทาน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการฟังและการพูดภาษาไทยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้¬กิจกรรมการเล่านิทาน กลุ่มตัวอย่างที่ ใช้ในการวิจัย คือเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 25 คน โรงเรียนเอกชน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์ 2) แบบทดสอบทักษะการฟัง 3) แบบทดสอบทักษะการพูด 4) แบบสังเกตพฤติกรรมทางภาษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาไทย ประกอบการใช้กิจกรรมเล่านิทานระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 90.50 / 82.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการพูดด้วยกิจกรรมการเล่านิทานระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.825หรือคิดเป็นร้อยละ 82.50 3.ทักษะการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภายหลังการจัดกิจกรรมการเล่านิทานสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ .(2546) .คู่มือการจัดกิจกรรมและสื่อเพื่อพัฒนาจิตพิสัยในระบบการเรียนการสอน ระดับก่อนประถมศึกษา .กรุงเทพมหานคร : กรมการศาสนา
กาญจนา สิงหเรศร์.(2551) .ผลของการจัดกิจกรรมประกอบอาหารแบบร่วมมือที่ต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
กุลยา ตันติผลาชีวะ (2548).เทคนิคการเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารการศึกษาปฐมวัย, 1,4 (กันยายน) : 30-39
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร : เบรนเบส บุ๊คส์
กุลยา ตันติผลาชีวะ.(2542). การเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียน 3-5 ขวบ. กรุงเทพฯ : โชติสุขการพิมพ์.
ดวงสมร ศรีใสคำ .(2552 ). ศึกษาผลของกิจกรรมการเล่านิทานพื้นบ้านที่มีต่อพัฒนาการทางภาษาด้านการพูดของนักเรียนอนุบาลปี¬ที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ดวงเดือน แจ้งสว่าง. (2542). นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย. สงขลา : สถาบันราชภัฏสงขลา.
นงลักษณ์ กันปัญญา .(2549 ).ศึกษาการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาในการสื่อสารของเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือภาพประกอบการเล่าเรื่อง หน่วยเที่ยวสวนสะอ้อน.การศึกษาค้นคว้าอิสระกศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.
ประภาพันธ์ นิลอรุณ.(2530). ความพร้อมทางการเรียนภาษาไทยของเด็กปฐมวัยในท้องถิ่นที่มีปัญหา
ทางภาษาโดยใช้วิธีสอนมุ่งประสบการณ์ทางภาษา. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
พิทยาภรณ์ สิงห์กานตพงศ์. (2553). ชุดกิจกรรมการจัดประสบการณ์นิทานเสริมคุณธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แม็ค จำกัด.
เผชิญ กิจระการ. (2544). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (E1/E2). วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 8(1), 30-36, (กรกฎาคม).
พิชญาดา ธาตุอินจันทร์ .(2551). ได้ศึกษาการใช้นิทานภาพพัฒนา ทักษะการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย.การค้นคว้าแบบอิสระ กศ.ม. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วราภรณ์ รักวิจัย .(2535). การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : แสงศิลป์การพิมพ์.
วาโร เพ็งสวัสดิ์.(2544). การวิจัยทางการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
วิภาวรรณ ยาประดิษฐ์. (2549). ได้ศึกษาการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นอนุบาล 1 โดยใช้กิจกรรมการเล่านิทานและกิจกรรมการศึกษานอกห้องเรียน.วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม :มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สาวิตรี รุญเจริญ. (2549). นิทานทำให้เด็กฉลาด. วารสารศูนย์บริการวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น.14(2), 29 – 32, (เมษายน-มิถุนายน).
สมนึก ภัททิยธนี.(2544). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545). 21 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาระบบความคิด. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). การอนุรักษ์หนังสือ. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
อัครภูมิ จารุภากร และพรวิไล เลิศวิชา. (2551). สมองเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สถาบันวิทยาการเรียนรู้.