การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ และการรับรู้คุณค่าของการบริโภค ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการรับชำระเงินด้วย“บาร์โค้ด 2 มิติ (QR Code)” ในตลาดนัด กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1. ปัจจัยด้านการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ, การรับรู้คุณค่าของการบริโภค และการตัดสินใจในการรับชำระเงินด้วยบาร์โค้ด 2 มิติ 2. ปัจจัยด้านการรับรู้คุณค่าของการบริโภคที่เป็นปัจจัยคั่นกลางระหว่างการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการกับการตัดสินใจในการรับชำระเงินด้วยบาร์โค้ด 2 มิติ โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการที่เคยใช้บาร์โค้ด 2 มิติ ในการรับชำระเงิน ในตลาดนัด 14 แห่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 433 คน กำหนดโดยโปรแกรม G* Power 3.1.9.2 โดยสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ ใช้เครื่องมือแบบสอบถามออนไลน์ผ่านการสแกนบาร์โค้ด 2 มิติในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์ของการแปรผัน ใช้สถิติเชิงอนุมานหาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ และระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อตัวแปร ทั้งทางตรงและทางอ้อม ด้วยการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling - SEM) ด้วยโปรแกรม PLS Graph 3.0 ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ ด้านการรับรู้คุณค่าของการบริโภค และการตัดสินใจใช้บาร์โค้ด 2 มิติในการรับชำระเงิน โดยรวมอยู่ในระดับมาก และพบว่าการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ และการรับรู้คุณค่าของการบริโภค มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการรับชำระเงินด้วยบาร์โค้ด 2 มิติ, การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการมีอิทธิพลต่อการรับรู้คุณค่าของการบริโภค และการรับรู้คุณค่าของการบริโภคในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการสู่การตัดสินใจในการรับชำระเงินด้วยบาร์โค้ด 2 มิติ
Article Details
References
คเชนทร หวยหงษทอง. (2559). การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการแรงจูงใจและการใส่ใจสุขภาพที่มีผลิตอการตัดสินใจ ซื้ออาหารจากฟู๊ดทรัคของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ทศพล เข็มเปา. (2559). ปัจจัยการสื่อสารการตลาดเพื่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสําอางค์ผ่านเว็บไซต์ www.konvy.com ของผู้ที่เคยซื้อเครื่องสําอางค์ผ่านเว็บไซต์www.konvy.com.
การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2560). การอนุญาตให้ธนาคารที่เข้าทดสอบโครงการ QR Code Payment ใน regulatory sandbox ให้บริการได้เป็นการทั่วไป. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2562,
จากhttps://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/News2560/n5960t.pdf.
พงศกร ลิมปกาญจน์เวช และ ณัฐพล อัสสะรัตน์. (2558). คุณค่าการบริโภคและพฤติกรรมการตัดสินใจใช้ บริการ 3G. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, ปีที่ 37 ฉบับที่ 145, 63-81.
วัชรากร ร่วมรักษ์. (2561). FinTech กับบทบาทสถาบันการเงินในยุค Digital. หน่วยวิเคราะห์เศรษฐกิจภาคการค้า ส่วนเศรษฐกิจรายสาขา ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจธุรกิจ และเศรษฐกิจฐานราก.
ศิวฤทธิ์ สุทธแสน. (2560). อิทธิผลการสื่อสารการตลาดมีผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของผู้บริโภค. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี,ปีที่ 6 ฉบับที่ 1, 158.
อภิญญาภรณ์ โสภา และเพ็ญศรี เจริญวานิช. (2561). อิทธิพลของค่านิยมการบริโภค ความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และ ทัศนคติด้านสิ่งแวดล้อมของบุคคลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. INCBAA Khon Kaen, 510-522.
CIO World & Business. (2018). KTC เปิด QR Payment รับชำระจากต่างประเทศ. Retrieved 5 Jan 2019, from http://www.cioworldmagazine.com/ktc-scan-to-pay-cross- border/.
Faul, F.; Erdfelder, E.; Buchner, A.; Lang, A.-G.(2009). Statistical power analyses using G* Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behav. Res.Methods,
41, 1149–1160.
Hair, J.F.; Ringle, C.M.; Sarstedt, M. (2011). PLS-SEM: Indeed a silver bullet. J. Mark. Journal of Marketing Theory and Practice, 19, 139–152.
Vasyl Denys & Júlio Mendes. (2014). Consumption Values and Destination Evaluation in Destination Decision Making. Tourism and Places: New Approaches, Vol 2 No 1, 4.