การพัฒนารูปแบบความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนารูปแบบความผูกพันต่อองค์กรของครู 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบความผูกพันต่อองค์กรของครู 3) พัฒนารูปแบบความผูกพันต่อองค์กรของครู 4) ประเมินและยืนยันการพัฒนารูปแบบความผูกพันต่อองค์กรของครูกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 6 ด้าน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 และแบบประเมินรูปแบบความผูกพันต่อองค์กรของครูในด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความตรงตามประเด็นการพัฒนา การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เทคนิควิธีวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น Modified Priority Needs Index (PNImodified) เทคนิคเดลฟาย และการทดสอบไคสแควร์ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การพัฒนารูปแบบความผูกพันต่อองค์กรของครูมีสภาพปัจจุบันโดยรวมมีค่าอยู่ในระดับปานกลางและสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมมีค่าอยู่ในระดับมาก 2. ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบความผูกพันต่อองค์กรของครูโดยรวมเท่ากับ . 21 3. รูปแบบความผูกพันต่อองค์กรของครู มีจำนวน 6 องค์ประกอบ ได้แก่1) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร 2) ความจงรักภักดีต่อองค์กร 3) บรรยากาศองค์กร 4) คุณภาพชีวิตในการงาน 5)ความท้าทายในการทำงานและ 6)ความสัมพันธ์ภายในองค์กร ตามลำดับ 4. ผลการประเมินและยืนยันการพัฒนารูปแบบความผูกพันต่อองค์กรของครู พบว่ามีความเหมาะสมและนำไปปฏิบัติได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
References
ธณัฐชา รัตนพันธ์. (2550). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุ ของความผูกพันต่อองค์กร ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล . วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา. ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรียาพร วงค์อนุตรโรจน์. (2540). ความผูกพันต่อสถาบันของอาจารย์ในสาขาครุศาสตร์อุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฏีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ภารดี อนันต์นาวี. (2545). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา แห่งชาติ. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
วรรณิภา นิลวรรณ. (2554).ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี.การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการทั่วไป.คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.
วิภานันท์ กวพัทธ์. (2557). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความผูกพันต่อองค์การของพนักงานฝ่ายช่าง บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต(อาชีวศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สรยา มหกณานนท์. (2551). แรงจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียน สารสาสน์วิเทศบางบอน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
สาธิต รื่นเริงใจ. (2549). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญาการศึกษาดุษฎีนิพนธ์บัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุพร ขำเจริญศักดิ์. (2553). การศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุนาภา คุ้มชัย. (2552). ความผูกพันของบุคลากรต่อหน่วยงานราชการ : กรณีศึกษากรมชลประทาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการภาครัฐ และเอกชน มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552).ตัวชี้วัดและ สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2550).คู่มือการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและศึกษานิเทศก์.กระทรวงศึกษาธิการ.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Buchanan, B. (1974). Building Organizational Commitment : the Socialization of Managers In Work Organization. Administrative Science Quartery.
Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2001). Educational Administration: Theory, Research, and Practice (6th ed). Singapore: McGraw-Hill.
Kanter, Moss. R. (1986). Commitment and Social Organization: A Study of Commitment Mechanisms in Utopian Communities. American Sociological Review.
Mowday, R.T., Richard, M.S., and Lyman, W. P. (1979). The Measurement of Organizational Commitment. Journal of Vocational Behavior. 14, 224–47.
Porter, L.W.,Steers, R.M.,Mowday,R.T., Boulian. (1974). Organizational commitment, job Satisfaction, and turnover among psychiatric technicians. Journal of Applied Psychology, 59, 604.
Steers, R.M. (1991). Introduction to Organization Behavior. New York: Harper Collin Publishers Inc.
Steers, R. M. (1997). Antecedents and Outcomes of Organizational Commitment, Administrative Science Quarterly. 22, 46 - 56.