การศึกษาความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน เขตสายไหม กรุงเทพมหานครและเปรียบเทียบระดับความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร จำนวน 238 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสถิติ t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า 1.นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง นักศึกษามีอายุ 21-22 ปี นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนสาขาภาษาอังกฤษมีประสบการณ์การเรียนรายวิชาการเรียนภาษาอังกฤษ มากกว่า 6 วิชา 2. นักศึกษามีความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษโดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านที่มีความวิตกกังวลมากที่สุดคือด้านการพูดมีความวิตกกังวลอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านการฟัง มีความวิตกกังวลอยู่ในระดับปาน และด้านที่น้อยที่สุดคือด้านการอ่านมีความวิตกกังวลอยู่ในระดับปานกลาง 3. นักศึกษาที่มีเพศ และสาขา และประสบการณ์การเรียนรายวิชาการเรียนภาษาอังกฤษที่แตกต่างกัน มีความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษ ด้านการพูด ด้านการฟัง ด้านการอ่าน และ ด้านการเขียนไม่แตกต่างกัน และนักศึกษาที่มีอายุ แตกต่างกัน มีความวิตกกังวล ในการเรียนภาษาอังกฤษ ด้านการพูด ด้านการอ่าน และ ด้านการเขียนไม่แตกต่างกัน แต่ด้านการฟัง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ0.05
Article Details
References
ครูอัพเดทดอทคอม. (2561).ภาษาอังกฤษกับสังคมไทยปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2561, จากhttp://www.kruupdate.com/news/newid-4343.html.
เจนจิรา ชัยปานและคณะ. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลักสูตรสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากลสาขาภาษาต่างประเทศชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2556. ภาคนิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต หลักสูตรสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล สาขาภาษาต่างประเทศ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
ธันวดี นำแสง. (2554). ความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทย: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นภา สุขประเสริฐ. (2549). ความวิตกกังวลในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนูบาลกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ . การศึกษาค้นคว้าอิสระ
(กศ.ม. จิตวิทยาการให้คำปรึกษา)มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บัญชาการ เสมอเพชร; และ พลังโชค แหวนเพชร. (2556). ความวิตกกังวลและการจัดการความวิตกกังวลของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในครั้งแรกของการสอนภาษาต่างประเทศ. วารสารการศึกษาและการปฏิบัติ, 4(2), 78-87.
พนิดา ตาสี. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
พิชชากร จันทา และคณะ.(2562).การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษในชั้นเรียนของนิสิตสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสาขาวิชาภาษาอังกฤษมหาวิทยาลัยนเรศวร .วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, ปีที่ 8 ฉบับที่ 1, (มกราคม–มิถุนายน).
เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช. (2556). รัฐบาลไทยเรียกร้องให้ทำการเข้าร่วมการศึกษาในอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2558, จากhttp://www.dailynews.co.th/education/232556.
อรพรรณ วีระวงศ์. (2547). การสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับการฝึกสอน: กรณีศึกษา นักศึกษาวิชาชีพครูจำนวน 4 คนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์.
Lai, H.C., Lin, W.J., & Kersten, G.E. (2010). The importance of language familiarity in global businessnegotiation. Electronic Commerce Research and Applications, 9(6), 2010, 537-548.
Crystal, D. (2003). English as a global language. United Kingdom: Cambridge University Press.
Horwitz, E. K., Horwitz, M. B. & Cope, J. A. (1986). Foreign language classroom anxiety. The ModernLanguage Journal, 70, 125-132.
Tum, D. O. (2012). Feelings of language anxiety amongst non-native student teachers. ScienceDirect, 47,2055-2059.