แนวทางการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดน่าน

Main Article Content

อดิศักดิ์ จำปาทอง
นิฤมล หิรัญวิจิตรภรณ์
คนึงนิจ ติกะมาตย์
ศชากานท์ แก้วแพร่

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเสนอแนวทางการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการ สำหรับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดน่าน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) การสนทนากลุ่มย่อย (Focus group) การอบรมให้ความรู้ (Training) และการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) แก่กลุ่มเกษตรกรผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดน่าน สำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น กลุ่มท่องเที่ยวจังหวัดน่าน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดน่านรวม 45 คน ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดน่านให้ประสบผลสำเร็จควรบูรณาการ และต่อยอดจากกิจกรรมการสื่อสารการตลาดที่มีอยู่เดิม โดยประกอบด้วย 1) การจัดทำเว็บไซต์ เพื่อใช้เป็นศูนย์กลาง ข้อมูลของแหล่งท่องเที่ยวที่ครบถ้วน 2) การใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เช่น การสร้างเพจ Facebook การโฆษณาผ่านทาง Instagram การโพสต์โฆษณาผ่านทาง Twitter การสร้าง LINE official account เป็นต้น 3) การสร้างกิจกรรมพิเศษ เช่น การจัดแสดงสินค้าหรือการแนะนำกิจกรรมท่องเที่ยว (Road show) 4) การประชาสัมพันธ์ผ่านทางรายการโทรทัศน์ 5) การส่งเสริมการขายผ่านบริษัทตัวแทน เช่น Agoda Traveloka 6) การสร้างแลนด์มาร์ค เพื่อเป็นจุด Check in ถ่ายภาพสำหรับนักท่องเที่ยว 7) การโฆษณาทาง YouTube โดยผสมผสานกิจกรรมดังกล่าวภายใต้กลยุทธ์และแผนงานเดียวกันอย่างลงตัวเพื่อพัฒนาการสื่อสารการตลาดไปสู่รูปแบบใหม่ ด้วยการเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคที่แท้จริง อันเป็นประโยชน์ต่อการสร้างโอกาสทางการตลาด และการขยายกลุ่มผู้บริโภคการท่องเที่ยวเชิงเกษตรให้ได้ผลมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตรจังหวัดน่าน. (2559). แผนพัฒนาจังหวัดน่าน 4 ปี (พ.ศ.2558–2561). รายงานวิเคราะห์สถานการณ์จังหวัดน่าน. จังหวัดน่าน
ฑัตษภร ศรีสุข, อดิศักดิ์ จำปาทอง และชรัสนันท์ ตาชม. (2561). แนวทางการพัฒนาการตลาดการท่องเที่ยวและห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีน่านแบบบูรณาการ. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561).
ราณี อิสิชัยกุล และ วรรณา ศิลปอาชา (2558) การศึกษาศักยภาพและแนวทางการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวชุมชนในประเทศไทยและกลุ่มประเทศอาเซียน. โครงการวิจัย.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพฯ.
วีรชน สวยรูป. (2561). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวองค์การบริหารส่วนตำบลบางกะเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ศศิธร เจตานนท์ และ เบญจพร แย้มจ่าเมือง. (2556). กลยุทธ์การวางแผนการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรสำหรับครอบครัว กรณีศึกษาชุมชนบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. โครงการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ.
สุกันยา คงเขียว กนก เลิศพานิช วรัญญา อรัญวาลัย และอภิศักดิ์ โพธิ์ปั้น. (2561). ความต้องการสื่อในการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรหมู่บ้านไม้ดอกไม้ประดับคลอง 15 อำเภอองครักษ์จังหวัดนครนายก. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 36 (1), 12-20.
สุรชัย ศรีนรจันทร์. (2562). แนวทางการพัฒนาการสื่อสารเชิงเนื้อหาเพื่อการจัดการเชิงธุรกิจของเกษตรกร. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, ปีที่ 7 ฉบับ ที่ 1, เดือน มกราคม – มิถุนายน 2562.
สำนักงานสถิติจังหวัดน่าน. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดน่าน 4 ปี (พ.ศ.2561–2564) .รายงานสถิติจังหวัดน่าน. สำนักงานสถิติจังหวัดน่าน
สำนักงานจังหวัดน่าน. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดน่าน 4 ปี (พ.ศ.2561–2564). แผนพัฒนาจังหวัดน่าน.คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดน่าน.
Paresh V. Joshi and Milind B. Bhujbal. (2012). Agro-Tourism A Specialized Rural Tourism: Innovative Product of Rural Market. International Journal of Business and Management Tomorrow, pg 1-12.
Pierrede Béraila et al. (2019). The relations between YouTube addiction, social anxiety and parasocial relationships with YouTubers: A moderated-mediation model based on a cognitive-behavioral framework. Journal of Computers in Human Behavio, Volume 99, October 2019, Pages 190-204.
Rodney Graeme Duffett. (2017). Influence of social media marketing communications on young consumers’ attitudes. Emerald logo Discover Journals, Books & Case Studies. South Africa.