การบริหารสถานศึกษากับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Main Article Content

ทินกร พูลพุฒ
ขรรค์ชัย อ่อนมี
วีณา อ่องแสงคุณ

บทคัดย่อ

การบริหารสถานศึกษากับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กันทั้งในเชิงทฤษฎีและในเชิงปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานทางการศึกษาหรือหน่วยงานองค์กรใด ๆ ก็ตามทั้งภาครัฐและเอกชน สถานศึกษาเป็นองค์กรที่มีจุดประสงค์ให้บริการทางด้านการศึกษา นอกจากดำเนินการจัดการศึกษาให้แก่ประชากรวัยเรียนแล้วยังมีพันธกิจในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตแก่ประชากรวัยเรียนให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ การบริหารสถานศึกษากับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความสัมพันธ์ในขอบข่ายงาน ทั้ง 4 งาน คือ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานงานทั่วไป ผู้บริหารสถานศึกษาที่จะบริหารจัดการภารกิจให้ประสบผลสำเร็จจะต้องบริหารจัดการบนพื้นฐานของความเป็นจริง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในความหมายขององค์ประกอบของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทั้งหลัก 3 ห่วง และ 2 เงื่อนไข คือ 1) หลักความมีเหตุผล (Rationality) 2) หลักความพอดีความพอเพียงและความพอประมาณ (Suffiency) 3) หลักการมีภูมิคุ้มกันตนเองที่ดี (Self-Immunity) เงื่อนไขที่ 1 คือ องค์ความรู้ (Knowledge) และเงื่อนไขที่ 2 คือคุณธรรม-จริยธรรม (Ethic) การบริหารสถานศึกษากับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้การศึกษามีคุณภาพ ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาให้มีคุณภาพ สังคมจะต้องเข้ามา มีส่วนร่วมอย่างจริงจัง บนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ 1) ด้านจิตใจ 2) ด้านสังคม 3) อยู่กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างฉลาด 4) ก้าวทันด้านเทคโนโลยี และ 5) ด้านเศรษฐกิจ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมการปกครอง. (2541). การพัฒนาอาชีพ. กรุงเทพมหานคร: เอกสารโรเนียว.คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. (2557). ประมวลคำในพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชตั้งแต่พุทธศักราช 2493 - 2546 ที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
นิคม มูสิกะคามะ. (2553). ทฤษฎี ใหม่ในหลวง : ชีวิตที่พอเพียง. กรุงเทพฯ: ร่วมด้วยช่วยกัน.
นิพนธ์ กินาวงศ์. (2553). หลักเบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนและการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พิฆเนศ.
พัฒนาภรณ์ ฉัตรวิโรจน์. (2555). บทบาทของครู ในการส่งเสริมความรู้เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต. การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
มาฆะ ขิตตะสังคะ. (2557). องค์การเอกชนกับการพัฒนาชนบท. การพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร : คณะวิชาการส่งเสริมเกษตรและสหกรณ์.
เมธี ปิลันธนานนท์. (2555). การบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: พิทักษ์อักษร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). คู่มือปฏิบัติงานสำหรับผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.
สุรีพร เอี้ยวถาวร. (2550). การบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ : กรณีศึกษาโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุเมธ ตันติเวชกุล. (2551). การดำเนินชีวิตในระบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ. กรุงเทพมหานคร: ร่วมด้วยช่วยกัน.
สุรเกียรติ เสถียรไทย. (2552). ทฤษฎีใหม่ในหลวง : ชีวิตที่พอเพียง. กรุงเทพมหานคร : ร่วมด้วยช่วยกัน.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. (2560). นโยบายด้านการพัฒนาการศึกษา. นครสวรรค์: ผู้แต่ง.
หวน พินธุพันธ์. (2550). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สถานะ.
อภิชัย พันธเสน. (2550). สังเคราะห์องค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.