รูปแบบการปรับตัวของกลุ่มธุรกิจบริการ เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมวิถีชีวิตใหม่ New Normal
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และการปรับตัวของกลุ่มธุรกิจบริการ เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมวิถีชีวิตใหม่ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบการปรับตัวของกลุ่มธุรกิจบริการ เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมวิถีชีวิตใหม่ 3) เพื่อศึกษาการยอมรับของลูกค้าต่อการปรับตัวของกลุ่มธุรกิจบริการ เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมวิถีชีวิตใหม่ และ 4) เพื่อถอดบทเรียน และสรุปมาตรการสำคัญเชิงนโยบายสำหรับการปรับตัวของกลุ่มธุรกิจบริการ เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมวิถีชีวิตใหม่ ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ส่งผลกระทบรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็น 1) ธุรกิจด้านการศึกษา ได้รับผลกระทบทั้งการเรียน คุณภาพการสอน ต้องปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์มากขึ้น 2) ธุรกิจด้านการโรงแรมมีผลประกอบการลดลงอย่างรวดเร็ว รัฐบาลมีมาตรการการป้องกันฯ อย่างต่อเนื่อง ปรับเปลี่ยนวิธีการ เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำรงอยู่ได้ และ 3) ธุรกิจด้านร้านอาหาร พบปัญหาการบริหารต้นทุน โดยเฉพาะมาตรการล็อคดาวน์ของรัฐบาล ห้ามบริโภคภายในร้านอาหาร ต้องปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ เป็นการขายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ดังนั้น ผู้วิจัยจัดทำรูปแบบการปรับตัวของกลุ่มธุรกิจบริการ เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) โดยคำนึงถึงสถานการณ์ปัจจุบัน ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้ประกอบการ/ผู้ผลิต เพื่อสามารถนำข้อมูลมาปรับใช้และเกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยในสถานการณ์ปัจจุบันให้ความสำคัญเรื่อง นวัตกรรมและเทคโนโลยี โลจิสติกส์ โมเดลธุรกิจ และกลยุทธ์ทางการตลาดที่เน้นการสร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่มีคุณค่า เพื่อนำไปสู่ยุควิถีชีวิตถัดไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิตติกร เรืองขำ ยุวเรศ มาซอรี และกิตติกาญจนะคูหะ. (2564). กลยุทธ์การปรับตัวโดยใช้ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดภายใต้สถานการณ์ Covid 19 ธุรกิจร้านอาหารริส์แมน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศิลปะศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 4 (2): 748 - 760.
ณิชา พิทยาพงศกร. (2563). New Normal ของการศึกษาไทย. (ออนไลน์) เข้าถึงเมื่อ 29 กรกฎาคม 2563, จาก https://techsauce.co/pr-news/what-is-the-new-normal-of-thai-education.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). ผลกระทบและการปรับตัว (Resilience) ของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและร้านอาหารช่วงโควิด-19. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 29 ตุลาคม 2564,จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_26Oct2021.aspx.
ธันยนันท์ สมบูรณ์รัตนโชค และวิสันต์ ลมไธสง. (2564). วิถีแบบ NEW NORMAL กับกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจให้บริการโรงแรม. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 17 (3): 191 - 203.
ปาริชาติ คุณปลื้ม. (2563). การปรับตัวของธุรกิจหลังยุค COVID-19. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 12 (2): 99 - 110.
พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิค-19. วารสารศิลปะการจัดการ, 4 (3): 1783 - 1795.
พัฒนาภา ธาดาสิริโชค. (2563). กลยุทธ์การปรับตัวด้านการบริหารจัดการโรงแรมในสภาวการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา โรงแรมเดอะภัทรา พระราม 9. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐลาคเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มนธิชา ทองหัตถา. (2564). สภาพการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 5 (1): 43 - 52.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). โควิดระบาดหนัก คาดมูลค่าธุรกิจร้านอาหารในปี 2564 หายไป 5.5 - 7.0 หมื่นล้านบาทจากปีที่ผ่านมา. (ออนไลน์) เข้าถึงเมื่อ 28 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/restaurant-covid19-z3237.aspx.
สุภาวดี ธงภักดิ์ และสันติธร ภูริภักดี. (2564). แนวทางการปรับเปลี่ยนและการพัฒนาการบริการ ของร้ายอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม “ร้านอาหารยามเย็น กรุงเทพมหานคร” ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด. วารสารศิลปะศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 4 (2): 761 - 772.
Aaron Hill. (2017). What is a service business?. Principles of Marketing: Help and Review.
Kotler & Bloom. (1984). Marketing professional services. Engelwood Cliffs, NJ: Prentice–Hall.
Kotler, Philip. (2003). Marketing Management. (11th ed.). Upper Saddle River,NJ:Prentice - Hall.
Krungthai Compass. (2020). ทิศทางเศรษฐกิจและธุรกิจในยุค New Normal. (Online). Retrieved July 28, 2020, from https://krungthai.com/Download/economyresources/ EconomyResources Download_447New_Normal_29_05_63.pdf.
Nuttachit. (2020). ผลกระทบจากโควิด ด้านเศรษฐกิจ. (Online). Retrieved July 28, 2020, from https://marketeeronline.co/archives/153064.
Paul Hodges and John Richardson. (2011). Boom, Gloom and The New Normal. ICIS publication.
Sereerat et al., (1998). Management of new marketing (Latest update). Bangkok: Teerafilm and Saitex.