ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าธรรมเนียมสอบบัญชีของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

ชุดาพร สอนภักดี

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าธรรมเนียมสอบบัญชีของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปัจจัยที่ศึกษาได้แก่ ขนาดของบริษัท ความเสี่ยงของบริษัท ความซับซ้อนของธุรกิจ ความน่าเชื่อถือขององค์กร ผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการที่ดี อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น สินทรัพย์ถาวรที่มีตัวตน สภาพคล่องของกิจการ สัดส่วนของหนี้สิน ไม่หมุนเวียนต่อหนี้สินรวม ผลการดำเนินงานปีก่อน และลักษณะของสำนักงานสอบบัญชีกับค่าธรรมเนียมสอบบัญชี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558-2562 จำนวน 792 บริษัท กลุ่มตัวอย่างคือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 80 บริษัท รวมจำนวนทั้งสิ้น 5 ปี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบค่าที (T-Test) และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าธรรมเนียมสอบบัญชี ได้แก่ ขนาดของบริษัท    ความเสี่ยงของบริษัท ความซับซ้อนของธุรกิจ ความน่าเชื่อถือขององค์กร ผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการที่ดี สินทรัพย์ถาวรที่มีตัวตน สภาพคล่องของกิจการ สัดส่วนของหนี้สินไม่หมุนเวียนต่อหนี้สินรวม และลักษณะของสำนักงานสอบบัญชี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 กิจการสามารถนำผลจากการศึกษาไปเป็นแนวทาง ในการวางแผนปรับปรุง เพื่อให้ประหยัดค่าธรรมเนียมการสอบบัญชี และสำนักงานสอบบัญชีนำไปวางแผนปรับใช้ในการกำหนดค่าธรรมเนียมในการสอบบัญชี


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชลธิชา ปานขวัญ. (2558). ความสัมพันธ์ของอันดับความน่าเชื่อถือขององค์กรและลักษณะหนี้สินกับค่าธรรมเนียมการสอบบัญชีของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐมล วันอินทร์ และคณะ. (2562). องค์ประกอบที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดค่าธรรมเนียมสอบบัญชีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. บริหารธุรกิจบัณฑิต การบัญชีบริหาร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2564). การจัดกลุ่มอุตสาหกรรมและกลุ่มธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2564, จาก https://www.set.or.th/th/regulations/simplified_regulations/industry_sector_p1.html

ปาวิณี สุดใจ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องสำคัญจากการสอบบัญชีกับค่าธรรมเนียมการสอบบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET100. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ยุวธิดา กันธวัง, มนทิพย์ ตั้งเอกจิต, และ สุวรรณา เลาหะวิสุทธิ์. (2562). ปัจจัยกำหนดค่าธรรมเนียมการสอบบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 11(1), 22-36.

วฤดดา พิพัฒนกุล, พัทธนันท์ เพชรเชิดชู, และศิริเดช คำสุพรหม. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดค่าธรรมเนียมการสอบบัญชี. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34 (109), 230-244.

วิรฐัถยา โพธิสิทธิ์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับค่าธรรมเนียมการสอบบัญชี: กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำหรับปี 2560. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2564). การกำหนดค่าสอบบัญชี. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2564, จาก https://www.tfac.or.th

Abdul Wahab, Mat Zain and James. (2011). The Impact of the Malaysian Code on Corporate Governance: Compliance, Institutional Investors and Stock Performance. Journal of Contemporary Accounting & Economics, 3(2), 106-129.

Besacier and Schatt. (2007). Determinants of audit fees for French quoted firms. Managerial Auditing Journal, 22(2), 139-160

Boot, A. W. A., Todd, T. M., & Anjolein, S. (2003). Credit ratings as coordination mechanisms. Working paper. Washington University, St. Louis.

Hossain and Sobhan. 2019. Determinants of Audit Fees: Evidence from Pharmaceutical and Chemical Industry of Bangladesh. International Journal of Trend in Scientific Research and Development, 4(1), 814-821.

Simunic, D. A. and M. T. Stein. (1996). The impact of litigation risk on audit pricing: Areview of the economics and the evidence. Auditing: A Journal of Practice & Theory, 15, 119–134.