แนวทางการพัฒนาบุคคลเพื่อสร้างความสัมพันธ์ในธุรกิจชุมชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดอ่างทอง

Main Article Content

แสงจิตต์ ไต่แสง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แนวทางการพัฒนาบุคลากรเพื่อการสร้างความสัมพันธ์ในธุรกิจชุมชน 2) เปรียบเทียบแนวทางการพัฒนาบุคลากรกับการสร้างความสัมพันธ์ในธุรกิจชุมชน และ 3) นำเสนอความสัมพันธ์แนวทางการพัฒนาบุคลากรกับการสร้างความสัมพันธ์ในธุรกิจชุมชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานในธุรกิจชุมชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดอ่างทอง จำนวน 120 คน ตามแนวคิดของ มนตรี พิริยะกูล (2553) โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มชั้นภูมิ ด้วยวิธีการการเจาะจง และการสัมภาษณ์เชิงลึก จากประธานกลุ่มธุรกิจชุมชน จำนวน 8 คน ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.967 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test, การวิเคราะห์ความแปรปรวน (One-Way ANOVA) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วย Pearson Correlation ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการพัฒนาบุคลากร และระดับการสร้างความสัมพันธ์ในธุรกิจชุมชน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.29 และ 4.31 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  อยู่ที่ .315 และ .664 2) แนวทางการพัฒนาบุคลากรที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ในธุรกิจชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดอ่างทองแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมีค่า Sig = 0.000 และ 3) การพัฒนาบุคลากร ทั้ง 6 ด้าน มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกับการสร้างความสัมพันธ์ในธุรกิจชุมชน จังหวัดอยุธยาจังหวัดอ่างทอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกนาฏ พรหมนคร. (2561). การศึกษาและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หัถกรรมเครื่องปั้นดินเผาคลองสระบัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสารอาศรมวัฒนธรรมอลัยลักษณ์, 18(2), 21-45.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). อัพเดทเทรนด์ท่องเที่ยว “เมืองรอง” เมื่อผู้คนเริ่มถวิลหาประสบการณ์ใหม่. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://www.dla.go.th/upload /news/type9/2018/11/40628_1.pdf?time=1544920032593.

ชยันต์ วรรธนะภูติ. (2546). การกำหนดกรอบคิดในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา.

ชิดชนก ชูนุช. (2562). การพัฒนาบุคลากรในสังกัดสถานบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชิดชม กันจุฬา. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเมืองรองของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษา จังหวัดอ่างทอง. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 2(2), 64-80.

มนตรี พิริยะกุล. (2553). ตัวแบบเส้นทางกําลังสองน้อยที่สุดบางส่วน Partial Least Square Path Modeling (PLS Path Modeling). ในการประชุมวิชาการสถิติและสถิติประยุกต์ครั้งที่11 ประจำปี 2553 มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ฤดี เสริมชยุด, และวันทนีย์ แสนภักดี. (2562). การศึกษาเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของธุรกิจชุมชนโดยใช้องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น: กรณีศึกษากลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ของใช้อรัญญิก ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(3), 222-232.

ลักษณี ทุ่งหว้า, ธราภรณื อิราภรณ์, และภาวิน ชินะโชติ. (2561). การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการทีมงาน: กรณีศึกษา กลุ่มแม่บ้านชุมชนแปรมฤทัย เขตประเทศ กรุงเทพมหานคร. วาสารเกษมบัณฑิต, 19(1), 61-72.

วิลาวัลย์ สมรรถสหัสชัย. (2557). แนวทางการพัฒนาความพร้อมของบุคลากรในสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 9พิษณุโลก เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.