คุณลักษณะการบริหารของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จเขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานครในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนและสร้างดัชนีชี้วัดความสำเร็จอย่างยั่งยืนของธุรกิจร้านอาหารทั่วไปในเขตพื้นที่ธนบุรี กรุงเทพมหานครการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Method) โดยศึกษาแนวคิดทฤษฎีจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทำการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) แล้วนำมาเป็นกรอบในการสร้างแบบสอบถาม เก็บข้อมูลด้วยการให้กลุ่มตัวอย่างทำการกรอกแบบสอบถาม ผู้บริโภคมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป โดยใช้เกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ความสะดวก (Convenience Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง (Average) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง (Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ผู้บริโภคที่ใช้บริการของธุรกิจร้านอาหารทั่วไปในเขตพื้นที่ธนบุรี จำนวน 220 คน ในหัวข้อความพึงพอใจต่อปัจจัยการดำเนินการของร้านอาหารทั่วไป แสดงให้เห็นว่าความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับความเห็นด้วยมากที่สุด ที่ระดับคะแนนเฉลี่ย 3.81 และกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ผู้บริโภคที่ใช้บริการของธุรกิจร้านอาหารทั่วไปในเขตพื้นที่ธนบุรี จำนวน 220 คน ในหัวข้อความพึงพอใจในด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม แสดงให้เห็นว่าความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับความเห็นด้วยมากที่สุด ที่ระดับคะแนนเฉลี่ย 3.79 ซึ่งทำให้ สร้างดัชนีชี้วัดความสำเร็จอย่างยั่งยืนของธุรกิจร้านอาหารทั่วไปในเขตพื้นที่ธนบุรี มีผลต่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนของธุรกิจร้านอาหารทั่วไปในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธานินทร์ ศิลป์ จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่13. กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
บมจ.หลักทรัพย์บัวหลวง.(2558). คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://www.oknation.net/blog/pprint.php?id=135202.
บมจ.ซีพีออยส์. (2556). สารพัดปัญหา SMEs แนวโน้มดิ่งเหวที่สุดในรอบ 5 ปี. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2565. จาก http//www.manages.co.th/SMEs/ViewNews.aspx?NewsID .
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). เอกสารประกอบการระดม ความคิดเห็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 .กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
ศิริพงษ์ รักใหม่.(2561). ปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการ SMEs, สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2565, จากhttp://www.anager.co.th/iBizchanne/riewNews.aspx?NewSID=9520000011.
Hair, J., et al. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). Upper saddleRiver, New Jersey: Pearson Education International.
Kaplan and Norton. (2017),The Theory and Practice of Customer Loyalty Management and Customer Focus in the Enterprise Activity, International Review of Management and Marketing. Volume 6, Issue 6S, 95 – 103.
Kline, R. B. (2010). Principles and practice of structural equation modeling (3rd ed.). New York, NY: Guilford Press.
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling (3rd ed.). New York: Taylor and Francis Group.
Vora-Sittha. (2012). Corporate Social Responsibility. New York City: John Wiley& Sons, Inc.