การบริหารจัดการโรงเรียนเทศบาล ระดับชั้นมัธยมศึกษากับผลลัพธ์ในการดำเนินการ ในเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 จังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

สันต์ชัย พูลสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการการโรงเรียนเทศบาลชั้นมัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 จังหวัดสมุทรสาคร 2) เพื่อศึกษาผลลัพธ์ในการดำเนินการโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 จังหวัดสมุทรสาคร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการโรงเรียนมัธยมศึกษากับผลลัพธ์ ในการดำเนินการ เขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 จังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 248 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการโรงเรียนเทศบาลระดับมัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 จังหวัดสมุทรสาคร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ ด้านบริหารงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ การจัดระบบบริหารงานบุคคลเพื่อการศึกษา โครงสร้างการบริหารจัดการศึกษา และด้านบริหารวิชาการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 2) ผลลัพธ์ในการดำเนินการ เขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 จังหวัดสมุทรสาคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การนำองค์กร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ กลยุทธ์การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ การปฏิบัติการ ผลลัพธ์ นักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และบุคลากร มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการโรงเรียนมัธยมศึกษา กับผลลัพธ์ในการดำเนินการ เขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 จังหวัดสมุทรสาคร พบว่า ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ อยู่ในระดับสูงมากไปในทิศทางบวกและทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับที่ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์อยู่ที่ .929 อยู่ในระดับสูงมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2553). การบริหารงานบุคคลครูและบุคลากรทางการศึกษาท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

จิรัสสา ไสยแก้ว. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับคุณภาพของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ดุจเดือน ไชยพิชิต. (2561). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียน ตำรวจตะเวนชายแดนระดับประถมศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. 8(1),157-164.

ธนพัฒน์ อภัยโส จงใจ เตโช และนันทวัน เอื้อวงศ์กูล (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารกับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามกระบวนการ PDCA ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ,5(2), 41-51.

ธรรมรัตน์ สงศร ชูศักดิ์ เอกเพชร และบรรจง เจริญสุข. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหาร โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 2(2), 87 – 88.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). แนวทางการดำเนินงาน โรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพชุมนุมสหกรณการเกษตรแหงประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). เกณฑ์รางวัลคุณภาพ แห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน OBECQA ปี 2559-2560. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

สุริยา ชิณณะพงศ์. (2561). องค์ประกอบการบริหารจัดการโรงเรียนมัธยมศึกษาด้วยระบบคุณภาพสู่มาตรฐานสากล. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 10 (1), 277-292.

Clark, P. (2008). Global Trends Necessitating a World Class Education. Dissertation Abstracts International, 51(3), 62-67.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.