ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการพัฒนาการให้บริการธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และการพัฒนาการให้บริการ 2) เปรียบเทียบการพัฒนาการให้บริการ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) นำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดกับการพัฒนาการให้บริการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม ทำการเก็บข้อมูลกับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่อาศัยอยู่ในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 398 คน ตามแนวคิดของ Taro Yamane (1973) ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test f-test LSD และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการวิจัยพบว่า 1) ส่วนประสมทางการตลาด และการพัฒนาการให้บริการอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.53 และ 3.49 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีค่าเท่ากับ .56 และ .45 2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษาอาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และสถานภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาการให้บริการของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 7 ด้าน มีความสัมพันธ์กับปัจจัยการพัฒนาการให้บริการของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิรติพงษ์ ปัญญาเรือง. (2559). กลยุทธ์ความได้เปรียบในการแข่งขันที่มีต่อผลความสำเร็จในการดำเนินงาน ตามแนวคิด Balance Scorecard ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแปรรูปอาหารของจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กันฑ์นิทัศน์ ห่อทอง. (2564). ปูรากฐานธุรกิจด้วย 7Ps พื้นฐานการตลาดที่ทุกธุรกิจบริการต้องรู้. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://adaddictth.com/knowledge/7Ps-Market.
คัทธลี เจียมสมบูรณ์เลิศ และนพปฎล สุวรรณทรัพย์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการรับเหมาก่อสร้างของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครภายใต้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. ในการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับนานาชาติ ครั้งที่ 16 มหาวิทยาลัยรังสิต. มหาวิทยาลัยรังสิต.
ชนินาถ ราชอุ่น. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและปัจจัยจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อวัสดุก่อสร้างประเภทกระเบื้องหลังคาของผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้าง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณัฐนนท์ โชครัศมีศิริ. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์ต่อความจงรักภักดีของผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการโรงแรมราคาประหยัด ในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภัทรภร พลพฤกษ์. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจใช้บริการธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 13(44), 13–24.
ภัทรวดี กฤตรัชตนนท์, เจษฎา นกน้อย และอรจันทร์ ศิริโชติ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ของประชาชนในจังหวัดพัทลุง. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 11(3), 121-128.
สุนิสา วิสุทธิรัตน์. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าต่อบริษัทรับเหมาก่อสร้างในเขตพัทยา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธ์, 3(2), 9-25.
Kotler, P. (2000). Marketing Management: Analyzing consumer marketing and Buyer behavior (The Millennium). New Jersey: Prentice Hall.
Millet, J. D. (1954). Management in the Public Service. New York: McGraw Hill.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis-3d Ed. Harper and Row.