ปัญหาการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญตามแนวคิด ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

ชนกันต์ วงษ์สันต์
ภัทรพล มหาขันธ์
วีณา ซุ้มบัณฑิต

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญตามแนวคิด ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญตามแนวคิด ทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 โดยจำแนกตามสถานภาพในการปฏิบัติงาน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง ประชากร คือ ผู้บริหารจำนวน 51 คน ผู้สอน จำนวน 185 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี คือ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญตามแนวคิด ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ระดับปัญหาโดยภาพรวมของผู้บริหารและผู้สอนอยู่ในระดับน้อย และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีปัญหามากที่สุดคือ ด้านสื่อการเรียนการสอน รองลงมาด้านหลักสูตร และการนำไปใช้ และการจัดการเรียนการสอนตามลำดับ ส่วนด้านที่มีปัญหาน้อยที่สุดคือ ด้านพหุวัฒนธรรมโรงเรียนกับชุมชน 2. เปรียบเทียบระดับปัญหาการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญตามแนวคิด ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวม ระดับปัญหาของผู้บริหารมีค่าเฉลี่ยที่มากกว่าผู้สอน เมื่อพิจารณารายด้าน ระดับปัญหาของผู้บริหารที่มากที่สุดคือด้านสื่อการเรียนการสอน และเมื่อพิจารณาระดับปัญหาด้านที่ผู้สอนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าผู้บริหาร พบว่า ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐพร ปุ๋ยรักษา (2552). สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชยา ทอดทิ้ง (2559). สภาพ ปัญหา และแนวทางการบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้มในโรงเรียนของรัฐ จังหวัดสงขลา.

วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา อิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อมรรัตน์ เตชะนอก, รัชนี จรุงศิรวัฒน์ และพระฮอนด้า วาทสทฺโท (2563). การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7(9), 1-15.

อัดนันย์ อาลีกาแห (2553). ปัญหาและความต้องการของครูอิสลามศึกษาในการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนของรัฐตามโครงการพัฒนาการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับประถมและมัธยมในจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อิรฟัน หะยีมะ (2560). สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนของรัฐ ที่ใช้หลักสูตรอิสลามศึกษา (แบบเข้ม) จังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อิสมาแอล หลีเส็น (2557). สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในจังหวัดสตูล. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและการจัดการศึกษาอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.