การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการบริหาร สำหรับผู้บริหารระดับต้นของรัฐวิสาหกิจกลุ่มสาธารณูปการ

Main Article Content

สิรีพิชญ์ สุขผล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสมรรถนะทางการบริหารสำหรับผู้บริหารระดับต้นของรัฐวิสาหกิจกลุ่มสาธารณูปการ (2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการบริหารสำหรับผู้บริหารระดับต้นของรัฐวิสาหกิจกลุ่มสาธารณูปการ และ (3) เพื่อประเมินหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการบริหารสำหรับผู้บริหารระดับต้นของรัฐวิสาหกิจกลุ่มสาธารณูปการ กลุ่มตัวอย่าง คือ   ผู้บริหารระดับต้นของรัฐวิสาหกิจกลุ่มสาธารณูปการ จำนวน 315 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะทางการบริหารมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 นำข้อมูลสมรรถนะที่ได้มาสร้างและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการบริหารสำหรับผู้บริหารระดับต้นจัดทำโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรม ประกอบด้วย (1) สภาพปัญหาและความจำเป็นของหลักสูตร (2) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร (3) เนื้อหาหลักสูตร (4) กิจกรรมและวิธีการอบรม (5) สื่อที่ใช้ในการฝึกอบรม (6) ระยะเวลาในการฝึกอบรม และ (7) การวัดและประเมินผล นำโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและความสอดคล้องของหลักสูตรฝึกอบรม นำหลักสูตรฝึกอบรมที่ผ่านการตรวจสอบไปทดลองใช้กับผู้บริหารระดับต้นของบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล แบบประเมินตนเองเกี่ยวกับสมรรถนะทางการบริหารเพื่อวัดก่อนและหลังฝึกอบรม และวัดความคงทนหลังอบรม 8 สัปดาห์ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพมหานคร.

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2557). ราชกิจจานุเบกษา. สืบค้นวันที่ 11 มกราคม 2564, จาก http://www.senate.go.th/w3c/senate/pictures/comm/52/lawguide/ law1/6.pdf

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ. (2564). ยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจสาขาสาธารณูปการ. สืบค้นวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://www.sepo.go.th/assets/ document/file/4.ยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจสาขาสาธารณูปการ.pdf

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.( 2553). คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน: คู่มือสมรรถนะทางการบริหาร. นนทบุรี : บริษัท ประชุมช่าง จำกัด.

จิรวัฒน์ ทิพยรส. (2559). การพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมสมรรถนะอาจารย์ใหม่ผ่านระบบออนไลน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตภูมิศาสตร์ภาคใต้. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พิพัฒน์พล เพ็ชรเที่ยง. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการสอนงานของหัวหน้างานในโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มัทนิน พฤติธนาภัทร. (2563). โปรแกรมฝึกอบรมออนไลน์เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้นธุรกิจดูแลสุขภาพภาคเอกชน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อภิศักดิ์ หนูชูไชย. (2562). รูปแบบการสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับสูง บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมลีสซิ่งชั้นนำในเขตกรุงเทพมหานคร. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Bass, B. M. (1997). Does the transactional-transformational leadership paradigm transcend organizational and national boundaries. American Psychologist, 2, 130-139

Drucker, P. F. (1974). The practice of management. New York: Harper & Row.

Katz, R. L. (1955). Skills of an effective administrator. Harvard Business Review, 33(1), 33-42.

King, C. M. (2014). Current an future leadership competencies of the perinatal nurse managers-leaders in West Virginia’s 27 delivery hospital. Dissertation Abstracts International, 76(02), 316-A. (UNI No. 3647014).

Shamir, B., House, R. J., & Arthur, M. B. (1993). The motivational effects of charismatic leadership: A self-concept based theory. Organization Science, 4(4), 577-594.

Yamane Taro. (1973). Statistics: An Introduction Analysis. (3rd ed.) New York: Harper & Rows Publishers.