ทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1

Main Article Content

ธรรมรัตน์ เม่งพัฒน์
ประเสริฐ ประวัติรุ่งเรือง
พรพิมล ประวัติรุ่งเรือง
เฉลิมชัย วิโรจน์วรรณ
พรณรงค์ สิงค์สำราญ
นิษรา พรสุริวงษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1  2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1  จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูผู้สอนมีทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก  ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครู รองลงมาคือ ทักษะด้านการสร้างชุมชนการเรียนรู้ของครู และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ทักษะชีวิตและ 2. ครูผู้สอนที่มีเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ทักษะด้านการจัดการชั้นเรียน  ทักษะด้านการสร้างชุมชนการเรียนรู้  ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครู และทักษะชีวิตและอาชีพ ไม่แตกต่างกัน และครูผู้สอนที่มีอายุแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อทักษะการจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ทักษะด้านการจัดการชั้นเรียนและทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูไม่แตกต่างกัน แต่ทักษะด้านการสร้างชุมชนการเรียนรู้ และทักษะชีวิตและอาชีพ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ .(2559). ยกย่องครูดีเด่นประเทศไทยด้านสะเต็มศึกษาการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาพัฒนานวัตกรรมใหม่ท้าทายสู่งานอาชีพ. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564,จากhttp://www.moe.go.th/moe/th/news.

กวีภัทร ฉาวชาวนา และปกรณ์ ประจัญบาน. (2559). การพัฒนาตัวชี้วัดทักษะการจัดการห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 ของครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 18(4),197-209.

เจริญ ภูวิจิตร. (2560). การพัฒนาครูเพื่อคุณภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564, จากhttp://www.nidtep.go.th/webnidtep2015/files/170560_Teachers%20Development21.

ดิเรก พรสีมา. (2559) .ครูไทย 4.0.กระทรวงศึกษาธิการ.สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2564, จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อการพัฒนาอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นวพร ชลารักษ์. (2558). บทบาทของครูกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 9(1), 64 - 71.

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2555). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์.

พนมนคร มีราคา. (2560). ครูต้องมีลักษณะอย่างไร... ในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, 5(2), 23 - 35.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาสกร เรืองรอง และคณะ. (2557). เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(พิเศษ), 195 - 207.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตฤกษ์. (2556). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส.

วรลักษณ์ คำหว่าง และคณะ. (2560). การศึกษาแนวทางพัฒนาทักษะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในจังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.

วิจารณ์ พานิช. (2553). วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษด์วิงศ์.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษด์วิงศ์.

วิจารณ์ พานิช. (2556). สนุกกับการเรียนในศตวรรษ ที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2557). การจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ. กรุงเทพฯ: ม.ป.ป.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2553). การพัฒนาครูทั้งระบบตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). แพร่: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2.

สุริยา ฆ้องเสนาะ. (2559). บทบาทของครูไทยในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2564, จาก https://drsumaibinbai.files.wordpress.com/2016/02/บทบาทของครูไทยใน ศตวรรษที่ 21.pdf.

สุริยาพร นพกรเศรษฐกุล. ((2561). ทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดระยองสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์และที่เน้นการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

ศุภกาญจน์ วิชานาติ. (2562). ทักษะแห่งการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : ความท้าทายสำหรับครูสอนพระพุทธศาสนา,วารสารปัญญาปณิธาน, 4(2), 81-94.

March, T. (2012). 21st Century teaching skills. Retrieved from http://tommarch.com/strategies/

skills-checklist/.

Simmon Simmon, C. (n.d.). (2013). Teacher skills for the 21st century. Retrieved from http://www.ehow.com/list_6593189_teacher-skills-21st-century.html

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper

& Row.