กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะทรัพยากรบุคคลรองรับการเป็นธนาคารเพื่อสังคม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและสังเคราะห์บริบทการบริหารทรัพยากรบุคคล และการพัฒนาสมรรถนะทรัพยากรบุคคลรองรับการเป็นธนาคารเพื่อสังคม 2) ศึกษาการบริหารทรัพยากรบุคคล โดยใช้สมรรถนะเป็นพื้นฐาน 3) ศึกษาการพัฒนาทักษะอนาคตของบุคลากร และ 4) กำหนดกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะทรัพยากรบุคคลรองรับการเป็นธนาคารเพื่อสังคมผลการวิจัยพบว่า 1) ธนาคารออมสินให้ความสำคัญกับบุคลากร ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนภารกิจไปสู่ความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ขององค์กร ซึ่งการบริหารทรัพยากรบุคคล โดยใช้สมรรถนะเป็นพื้นฐาน ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสมรรถนะหลัก ด้านสมรรถนะผู้นำ/สมรรถนะทางการบริหาร และด้านสมรรถนะตามหน้าที่ และการพัฒนาทักษะอนาคตของบุคลากร ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความสามารถทางปัญญา ด้านความสามารถทางการจัดการธุรกิจ และด้านความสามารถทางด้านเทคโนโลยี 2) การบริหารทรัพยากรบุคคล โดยใช้สมรรถนะเป็นพื้นฐาน ด้านสมรรถนะตามหน้าที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเป็นธนาคารเพื่อสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) การพัฒนาทักษะอนาคตของบุคลากรส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเป็นธนาคารเพื่อสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะทรัพยากรบุคคลรองรับการเป็นธนาคารเพื่อสังคม ประกอบด้วย กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาสมรรถนะองค์กร กลยุทธ์ที่ 2 ยกระดับขีดความสามารถพนักงานรองรับการแข่งขัน กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาการบริหารจัดการความรู้และนวัตกรรม กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาผู้มีศักยภาพสูง เพื่อทดแทนตำแหน่ง และเตรียมผู้นำในอนาคต กลยุทธ์ที่ 5 ขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กรและสร้างความผูกพันพนักงาน และกลยุทธ์ที่ 6 เพิ่มศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานด้าน HR
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชนิกา พิพัฒนานิมิต. (2558). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสินภาค 7. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร. 10(2), 133 - 144.
ธนาคารออมสิน. (2565). ประวัติธนาคารออมสิน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2565, จาก https://www.gsb.or.th/about/ประวัติธนาคาร.
ธนาคารออมสิน. (2565). ธนาคารเพื่อสังคม. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2565, จาก https://www.gsb.or.th/csr/gsbcsr/ออมสินเพื่อสังคมและสิ่/csr-management/.
ธัญญารัตน์ พรหมสุทธิ์ และคณะ. (2564). การพัฒนาสมรรถนะทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับยุคประเทศไทย 4.0. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 10(1), 228 - 243.
พรธิดา เทพประสิทธิ์ และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2561). ความสามารถในการพัฒนาตนเองที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ผ่านบุคลิกภาพแบบประนีประนอมของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(1), 107 - 120.
พัฒนพงษ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2564). การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรฝ่ายบริการกลางของธนาคารกรุงศรีอยุธยาจำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(2), 130 - 142.
มาฆะ ภู่จินดา. (2552). ชื่อเรียกอาชีพที่เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์. มติชนรายสัปดาห์, ฉบับที่ 1497, 37.
ศิรินทิพย์ แสงมิ่ง. (2562). การพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นของบุคลากรในสำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
การค้นคว้าอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อัญชลี ชัยศรี. (2563). การบริหารทรัพยากรมนุษย์บนพื้นฐานสมรรถนะ. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์. 5(2), 234 – 248.
อาชว์ภูริชญ์ น้อมเนียน และสมศักดิ์ อมรสิริพงศ์. (2561). การพัฒนาสมรรถนะทรัพยากรบุคคลสู่องค์กรสมรรถนะสูงของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(2), 63 - 81.