การจัดการความรู้บนฐานทุนชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ชมพู่เพชรสายรุ้งสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

บำเพ็ญ ไมตรีโสภณ
เจมส์ แลนแคสเตอร์
ธนสิน จันทเดช
ชวนพิศ จตุรภุช

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งเสนอแนวคิดในการจัดการความรู้บนฐานชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ชมพู่เพชรสายรุ้ง ผลไม้ขึ้นชื่อ ของจังหวัดเพชรบุรีที่เป็นผลจากการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรที่สั่งสมมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ผนวกกับสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศที่ทำให้ชมพู่เพชรมีรสชาติหวานกรอบต่างจากชมพู่สายพันธุ์อื่น ๆ จนได้รับการขึ้นทะเบียน สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ชมพู่เพชรสายรุ้งเป็นผลไม้เศรษฐกิจ เป็นทุนชุมชนที่สร้างรายได้ สร้างความภาคภูมิใจให้กับเกษตรกร และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของจังหวัดเพชรบุรี แต่ในการดูแลรักษาต้นพันธุ์และการรักษาคุณภาพของผลผลิตให้ได้มาตรฐานนั้น เกษตรกรจะต้องมีองค์ความรู้เฉพาะทาง ต้องทุ่มเทเวลาและงบประมาณ ดังนั้นการจัดการความรู้บนฐานทุนชุมชนทั้งด้านทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุนกายภาพ และทุนธรรมชาติเพื่อการอนุรักษ์ชมพู่เพชรสายรุ้งจึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรชาวสวนชมพู่เพชรสายรุ้ง ผู้นำชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและเพื่อการอนุรักษ์ชมพู่เพชรสายรุ้ง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (2563). ประกาศการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2565. จาก https://www.ipthailand.go.th/th/gi-002.html.

เทคโนโลยีชาวบ้าน (2565). ชมพู่เพชรสายรุ้ง ของดีเมืองเพชร ปลูกดูแลง่าย ราคาดี. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2565, จาก https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_14962.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565, จาก https://www.orst.go.th.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2558). คู่มือสนับสนุนการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและทุนชุมชน. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2565, จาก https://web.codi.or.th/wp-content/uploads/2019/05/book_Economic041258.pdf.

Businessdictionary.info. (2021). Knowledge Management. Retrieved 18 Sep, 2022, from https://businessdictionary.info/definition/knowledge-management.

Cultural Heritage.Org. (2022). Conservation. Retrieved 18 Sep, 2022, from https://www.culturalheritage.org/about-conservation/what-is-conservation.

Gochenour, P. H. (2006). Distributed Communities and Nodal Subjects. New Media & Society, 8(1), 33-51.

John Girard. (2022). Knowledge Management Defined. Retrieved 18 Sep, 2022, from https://www.johngirard.net/km.

Leader-Williams, N., Adams, W.M. & Smkth, R.J. (eds) (2011). Trade-offs in Conservation: Deciding What to Save. John Wiley &Sons, Chichester, UK.

National Geographic. (2022). Conservation. Retrieved 18 Sep, 2022, from https://education.nationalgeographic.org/resource/conservation

Wellman, B. and Frank, K.. (2001). Network Capital in a Multilevel World: Getting Support from Personal Communities. In: Lin, N., Cook, K. and Burt, R.S., Eds., Social Capital: Theory and Research. Aldine de Gruyter, New York.