แรงจูงใจภายใน ความคิดสร้างสรรค์ ความยึดมั่นผูกพันในงานเป็นปัจจัยคั่นกลางที่เชื่อมโยงระหว่างผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่ประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์น ซีบอร์ด (ระยอง)

Main Article Content

ธีรศักดิ์ สุขาบูลย์
สุมาลี รามนัฏ
ชัยฤทธิ์ ทองรอด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของผู้นำการปลี่ยนแปลง แรงจูงใจภายใน ความคิดสร้างสรรค์ ความยึดมั่นผูกพันในงาน และประสิทธิภาพในการทำงาน และ 2) แรงจูงใจภายใน ความคิดสร้างสรรค์ ความยึดมั่นผูกพันในงานเป็นปัจจัยคั่นกลางที่เชื่อมโยงระหว่างผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่ประสิทธิภาพในการทำงาน โดยเป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ พนักงานของบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) จำนวน 750 คน และได้กำหนดการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และ การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้กำหนดตัวแทนที่เป็นรองผู้จัดการของบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ จำนวน 13 บริษัท บริษัทละ 1 ท่าน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย และวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้โปรแกรม Smart PLS 3.0 ผลการวิจัยเชิงพบว่า 1) ระดับแรงจูงใจภายในอยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.45 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.576 และสัมประสิทธิ์การกระจายอยู่ที่ 0.13 2) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการทำงานทั้งทางตรงและทางอ้อมมาก โดยมีค่าอิทธิพลรวมอยู่ที่ 0.837 และข้อสรุปที่ได้จากการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกมีความสอดคล้องกับการวิจัยเชิงปริมาณ ทั้งปัจจัยด้านผู้นำการเปลี่ยนแปลง แรงจูงใจภายใน ความคิดสร้างสรรค์ ความยึดมั่นผูกพันในงาน และประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์น ซีบอร์ด (ระยอง)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2560). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560-2564.สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2565, จาก https://www.sme.go.th.

กิติศักดิ์ สิรหทัยวรกิจ และสุมาลี รามนัฏ. (2564). อิทธิพลความผูกพันต่อองค์กรในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงแรงจูงใจ สู่ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 11(3), 19-25.

พันทิยา ทรัพย์ประเสริฐ. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท เรดซีน จำกัด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ยุทธนา แก้วมืด. (2562). ปัจจัยแห่งความสำเร็จและแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สถาบันยานยนต์. (2564). สถาบันยานยนต์. ปักธง!!! ปี 2565 มุ่งพัฒนาบริการครอบคลุมอย่างมีมาตรฐานสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2565, จาก https://www.autos pinn.com/2021/12/tai-2022-plan-85284.

หฤทัย อาจปรุ, สินีนาฏ ลิ้มนิยมธรรม และปิยะวัฒน์ วงษ์วานิช. (2563). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ. วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์, 7(1), 79-96.

อรรถชัย จันโททัย. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานของบุคลากร กรมการขนส่งทางบกในส่วนกลาง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.

อุไรวรรณ จันทร์หอม. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และบุคลิกภาพของผู้นำ ที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์การของบุคลากร กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Costa Jr, P. T., & McCrae, R. R. (1992). Four ways five factors are basic. Personality and individual differences, 13(6), 653-665.

Jonsen, K., & Jehn, K. A. (2009). Using triangulation to validate themes in qualitative studies. Qualitative research in organizations and management: an international journal, 4(2), 123-150.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of psychology, 22(140), 1-55.

Nunnally, J. C., Knott, P. D., Duchnowski, A., & Parker, R. (1967). Pupillary response as a general measure of activation. Perception & psychophysics, 2(4), 149-155.

Shin, Y., Hur, W. M., Moon, T. W. & Lee, S. (2019). A Motivational Perspective on Job Insecurity: Relationships Between Job Insecurity, Intrinsic Motivation, and Performance and Behavioral Outcomes. International journal of environmental research and public health, 16(10), 1812-1820.

Su, W., Lyu. B., Chen, H., & Zhang, Y. (2020). How does servant leadership influence employees’ service innovative behavior? The roles of intrinsic motivation and identification with the leader. Baltic Journal of Management, 15(4), 571-586.