รูปแบบการเรียนรู้แบบพุทธิปัญญาบูรณาการร่วมกับพัฒนาทักษะ การสอนคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาโดยใช้พุทธิปัญญาในการเรียนคณิตศาสตร์ และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครู และนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนสอนโดยใช้พุทธิปัญญาบูรณาการร่วมกับพัฒนาทักษะการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลยโสธร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 31 คน ซึ่งได้มาเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของครู และนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนสอนโดยใช้พุทธิปัญญาบูรณาการร่วมกับพัฒนาทักษะการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลยโสธร ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบกิจกรรมการเรียนสอนโดยใช้พุทธิปัญญาบูรณาการร่วมกับพัฒนาทักษะการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (x ̅ =4.50, S.D.=0.51) และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบกิจกรรมการเรียนสอนโดยใช้พุทธิปัญญาบูรณาการร่วมกับพัฒนาทักษะการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก (x ̅ =4.40, S.D.=0.70)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ชูติวรรณ บุญอาชาทอง และ ภูริพจน์ แก้วย่อง. (2560). การวิเคราะห์ เปรียบเทียบการนำความรู้เกี่ยวกับพุทธินิยมหรือพุทธิปัญญามาใช้ในชั้นเรียน. วารสารร่มพฤกษ์: มหาวิทยาลัยเกริก, 32 (5), 33-50.
ประทวน คล้ายศรี. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับแนวคิดอภิปัญญา สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
รัชฎาภรณ์ ชื่นชม. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบพุทธิปัญญาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดด้านคณิตศาสตร์ ชั้นอนุบาลปีที่ 2. วารสารจันทรเกษมสาร,23(44), 97-112.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 11).กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น
วนิดา นามโคตร. (2559). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สมนึก ภัททยธนี. (2544). การวัดผลการศึกษา. มหาสารคาม : ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อลงกรณ์ พรมที. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยมเรื่อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและการแพร่กระจายสำหรับการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า.วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.