ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ

Main Article Content

ลลิตา ปาละกูล
อรนันท์ กลันทปุระ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติงานในสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ ซึ่งประกอบด้วย ฝ่ายอำนวยการยุทธศาสตร์ตำรวจ กองยุทธศาสตร์ กองแผนงานอาชญากรรม กองแผนงานความมั่นคง กองวิจัย และกองแผนงานกิจการพิเศษ จำนวน 357 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าเอฟ (One - Way Analysis of Variance) และทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายข้อโดยเรียงลำดับจากข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 2 ลำดับแรก พบว่า ด้านคุณภาพของงานและด้านระยะเวลาการทำงาน อยู่ในระดับมาก และด้านปริมาณของงาน 2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ข้าราชการตำรวจสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจที่มีเพศ ระดับตำแหน่ง อายุการรับราชการ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่างกัน มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ พบว่า สภาพแวดล้อมในการทำงานมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ก้องปิติ อ่อนมาก. (2563). การปฏิบัติงานด้านการป้องกันอาชญากรรมตำรวจภูธรจังหวัด นครปฐม.วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(3), 418-430.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2545). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ.(2564). ข้อมูล จำนวนของ ข้าราชการตำรวจที่อยู่ในสังกัด สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ. ฝ่ายอำนวยการสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ.

อมรรัตน์ จันทร์เกตุ. (2560). ปัจจัยทำนายประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสังกัดตำรวจภูธรภาค 2. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

อรณัฐ ยลเบญจพล. (2559). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการส่งเสริมประสิทธิภาพด้านการป้องกันอาชญากรรมสำหรับนักท่องเที่ยวภายในพระบรมมหาราชวัง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.

อาทิตย์ เอี่ยมขจร. (2559). ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธรแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

อิศรพงศ์ วงศ์เชียงยืน. (2556). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสังกัดกองกำกับการศูนย์รวมข่าว. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

อุไรวรรณ โฮมแพน. (2556). ประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายอำนวยการกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

Dybvig, P. H., & Warachka, M. (2015). Tobin's q does not measure firm performance: Theory, empirics, and alternatives. Empirics, and Alternatives.

Fayol, Henri. (1949). General and Industrial Management. London: Sir Isaac Pitman & Sons.

Gilmer, V. B. (1973). Applied Psychology. New York: Mc Graw - Hill.

Jones, E. (1949). Hamlet and Oedipus. New York.

Moos, R. H., & Schaefer, J. A. (1986). Life transitions and crises. Coping with life crises, 3-28.

Peterson, E., & Plowman, E. G. (1953). Business organization and management–home wood. Illinoise: Richard D. Irwin.

Yamane. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper &row.