ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานกับการประเมินโรงเรียนดีประจำตำบล เขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 จังหวัดลพบุรี

Main Article Content

สันต์ชัย พูลสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการบริหารงาน ศึกษาการประเมิน และหาความสัมพันธ์ระหว่าง การบริหารงานกับการประเมิน โรงเรียนดีประจำตำบล เขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 จังหวัดลพบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ผู้บริหารและครูปฏิบัติการสอน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 310 คน จาก 1,359 คน จากตารางสำเร็จรูปของเครซีและมอร์แกน ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล มีค่าความเชื่อมั่นด้านการบริหารงานเท่ากับ .93 และด้านการประเมินเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานโรงเรียนดีประจำตำบล เขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 จังหวัดลพบุรี ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก แยกเป็นรายด้านพบว่า ด้านปัจจัยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ตามลำดับ 2) การประเมินโรงเรียนดีประจำตำบล โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก แยกเป็นรายด้านพบว่า แผนปฏิบัติการประจำปีมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ การบริหารงบประมาณ บุคลากรมีคุณภาพ อาคารสถานที่ และด้านวัสดุอุปกรณ์ ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์การบริหารงานกับการประเมินโรงเรียนดีประจำตำบล เขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 จังหวัดลพบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงไปในทางบวกและทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การบริหารจัดการ ด้านปัจจัยกับการประเมิน การบริหารงานด้านกระบวนการกับการประเมิน อยู่ในระดับสูงมาก การบริหารงาน ด้านผลผลิตกับการประเมิน อยู่ในระดับสูงไปในทางบวกและทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นิพนธ์ แสงเนตร. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนศรีตำบล ต้นแบบกระทรวงศึกษาธิการ. JOURNAL OF NAKHONRATCHASIMA COLLEGE,11 (2),176-185.

บุญญลักษณ์ พิมพา. (2560). การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนดีประจําตําบล โดยใช้ 8S’s Supervisory Model. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

พักตรพิไล วงศละ. (2560). การประเมินโครงการโรงเรียนดีประจําตําบล ของโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 4. ในรายการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏสารคาม 2560 หน้า 1645-1653.

วัชรพงษ์ อภิญญานุรังสี และคณะ (2560). การพัฒนารูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1),125-141.

สยุมภู เหมือนนิรุทธ์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กกับการบริหารเชิงกลยุทธ์ในสถานศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,(2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560- 2579. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2565, จาก https://www.moe.go.th › moe › news › detai.

อภิเดช ชัยราชา. (2562). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนขนาดเล็กของมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

Robert V. Krejcie and Earyle W. Morgan. (1970). Determining sample sizes for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30, 607-610.