การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบสอบด้วยการใช้ห้องทดลองเสมือน เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาด ของโควิด-19 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

เจิดจิรัฐิต์ โสรัตยาทร
จักรกฤษณ์ จันทะคุณ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบสอบด้วยการใช้ห้องทดลองเสมือนเพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 75/75 และ 2) ศึกษาผลการทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 9 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนสามัคคีธรรมราษฎร์บำรุง จังหวัดนครสวรรค์ ใช้วิธีคัดเลือกด้วยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับห้องทดลองเสมือน เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับห้องทดลองเสมือนเพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6และ3) แบบวัดแบบวัดมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Wilcoxon และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบสอบด้วยการใช้ห้องทดลองเสมือน เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.36/79.44 สูงกว่าเกณฑ์ 75/75 และ 2) นักเรียนมีมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลภัทร พึ่งปาน. (2562). การพัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบ ทำนาย-สังเกต-อภิปราย-สังเคราะห์. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กิตติภัค ชูวงค์ และวิทยา วรพันธุ์. (2563). การเสริมสร้างความเข้าใจในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สำหรับครูผู้สอนวิทยาศาสตร์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูลย์, 1(1), 11-21.

จันทร์จิรา แก้วโกย. (2554). ผลของการใช้ห้องทดลองเสมือนแบบสืบสอบแบบมีและไม่มีการกำหนดแนวทางที่มีต่อการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาโสตทัศนศึกษา ภาควิชาหลักสูตร การสอนและเทคโนโลยี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิวา ประภาชื่นชม, วิชิต สุรัตน์เรืองชัย และปริญญา ทองสอน. (2563). การพัฒนามโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวทางของ Borich และคณะ. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 7(1), 172-184.

ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทรัตน์ คงคะชาติ และวิทยา ทองโสม. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับสื่อออนไลน์ในการแก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในช่วงสถานาการณ์โควิด โรงเรียนวัดสันติธรรม อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 3(2), 14-26.

พัชรี โพชนา. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิชาชีววิทยา เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิซึม. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2548). วิธีวิทยาการสอนวิทยาศาสตร์ทั่วไป. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

รัตนะ บัวสนธ์. (2552). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทัศน์ ฝักเจริญผล และคณะ. (2563). ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ภายใต้สถานการณ์ระบาดไวรัส Covid-19. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 4(1), 44-61.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับประถมศึกษา. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2564. จาก https://www.scimath.org/ebook-science/item/8922-2018-10-01-01-54-11/.

สุรุจิรา บุญเลิศ. (2556). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยบทปฏิบัติการทดลองเสมือนจริงเรื่องสารละลายกรดและเบส. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อาชิรา เหลือช่าง. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแอปพลิเคชั่นพลิกเกอร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2564, จาก https://regis.nsru.ac.th/gtips/storage/files/

archived/0c9ef7a2a50114bc.pdf

Faour, M.A. & Ayoubi, Z .(2018). The effect of using virtual laboratory on grade 10 studends' conceptual understanding and their attitudes towards physics. Journal of Education in Science, Environment and Health (JESEH), 4(1), 54-68.

G Gunawan. (2018). Virtual Laboratory to Improve Students' Conceptual Understanding in Physics Learning. MISEIC 2018. IOP Conf. Series: Journal of Physics: Conf, 1108 (1),1-6.

Liandha Arieska Putri. (2021). Enhancing Students' Scientific Literacy using Virtual Lab Activity with Inquiry-Based Learning. Retrieved October 17, 2021, from https://eric.ed.gov/?id=EJ1292932/.

Siti Jamiatul Husnaini and Sufen Chen. (2019). Effects of guided inquiry virtual and physical laboratories on conceptual understanding, inquiry performance, scientific inquiry self-efficacy, and enjoyment. PHYSICAL REVEIEW PHYSICS EDUCATION RESEARCH,15(1), 1-16.