การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน ของโรงเรียนบ้านหนองบัวคำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 4

Main Article Content

วรภพ เขาฟัง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนบ้านหนองบัวคำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 2) ทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน และ 3) ประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน กลุ่มประชากร ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองบัวคำ จำนวน 87 คน ครูผู้สอน จำนวน 11 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 8 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Positive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ และคู่มือการใช้รูปแบบ 2) แบบประเมินความคิดเห็นของครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ 3) แบบประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ระดับคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนบ้านหนองบัวคำมีความเหมาะสม ในระดับมากที่สุด 2) ผลการทดลองใช้รูปแบบทำให้คุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน หลังการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนสูงกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนดตามเกณฑ์คุณภาพภายในด้านคุณภาพผู้เรียน และ 3) ผลการประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชาริณี ตรีวรัญญู. (2558). 9 วิถีสร้างครู สู่ศิษย์: เอกสารประมวลแนวคิด และแนวทางพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับคณะทำงานโครงการพัฒนา ระบบกลไกและแนวทางการหนุนเสริมชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน (สสค.).

พิมพ์อร สดเอี่ยม. (2561). ข้อเสนอแนวทางการขับเคลื่อนการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพใน สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเลย. วารสารศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2(3),53-60.

เมธาสิทธิ ธัญรัตนศรีสกุล. (2560). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ: แนวทางปฏิบัติสำหรับครู.วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชมงคลสุวรรณภูมิ, 2 (2), 214-228.

วิทยากร เชียงกูล. (2559). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2557/2558 จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา. (2561). หน่วยที่ 6 ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการศึกษา: ชุดวิชา 23728 นวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ. นนทบุรี:หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

แสงรุนีย์ มีพร. (25643. ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ: เส้นทางสู่การพัฒนาวิชาชีพครู. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,14 (2),20-32.

สำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อน กระบวนการ PLC “ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” สู่สถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

DuFour & Eaker. (1998). What is a professional learning community. Educational Leadership, 61(8), 6-11.

Hord. (2010). Professional Learning communities: Communities of continuous inquiry and improvement. Austin : Southwest Educational Development Laboratory.

Stoll et al. (2003). Professional learning communities: A review of the literature. Journal of Educational Change, 7(4), 221-258.

Willer, R. H. (1986). Leader and leadership process. Boston: Irwin/McGraw-Hill.