ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กร ของบุคลากรสำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

Main Article Content

พีระ สันตสิงห์
อัศนีย์ ณ น่าน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นบุคลากรในสังกัดสำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ทั้งหมด 7 เขต จำนวน 179 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson product movement correlation coefficient) ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพชีวิตในการทำงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อความผูกพันต่อองค์กรโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า คุณภาพชีวิตในการทำงานด้านบูรณาการด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์และสัมพันธ์กับสังคมและด้านความก้าวหน้า และมั่นคงในงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อความผูกพันต่อองค์กรในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สำหรับด้านโอกาสในการพัฒนาความสามารถของบุคลากร ด้านบูรณาการด้านสังคมหรือการทำงานร่วมกัน ด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตความเป็นอยู่ ด้านประชาธิปไตยในองค์กร ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม และด้านสภาพการทำงานที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อความผูกพันต่อองค์กรในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. (2564). การสำรวจความผูกพันและความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรต่อองค์กร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน

กองเพชร อิ่มใจ. (2562). คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2(2), 30-45.

กัญจน์ชัญญา สัมมาทรัพย์, อรรณพ จีนะวัฒน์ และรัตนา ดวงแก้ว. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดตาก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 20(1), 1-10.

ไขขวัญ อรัญเวทย์. (2564). อิทธิพลของคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ชลบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 11(3), 68-74.

จิตติ กิตติเลิศไพศาล, ชาคริต ชาญชิตปรีชา, โสภัชย์ วรวิวัฒน์ และศิวดล ยาคล้าย. (2561). คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของกำลังพล กรมทหารราบที่ 3.วารสารเกษมบัณฑิต. 19(พิเศษ), 29-40.

จิราภรณ์ สอนดี และ อภิสิทธิ์ ตั้งเกียรติศิลป์. (2564). คุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 13(2), 559-572.

พิรัญญา นิลพันธ์. (2561). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน ในสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 ตำบลคลัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วสุพัชร์ แก้วกิ้ม. (2563). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรที่ปฏิบัติงานเครือข่ายสุขภาพ อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 3(2), 68-79.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สิริพร มูลเมือง. (2564). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย. 3(1), 29-32.

สุดารัตน สุบิน. (2563). คุณภาพชีวิตการทำงานกับประสิทธิภาพในการทำงานขาราชการในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม. Lawarath Social E-Journal. 2(3), 78-86.

อรวรา กล้าหาญ. (2561). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Fitz-enz, J. (2009). The ROI of HC: measuring the economic value of employee performance – NY, AMA, 312.

Huse, E., & Cummings, T. (1980). Organization development and change. New York: West.

Indu Bala, Ramandeep Saini and B.B. Goyal. (2019). A study of quality of work life and organizational commitment. IAHRW International Journal of Social Sciences Review. 7(3), 334-341.

Meyer, J. P., and Allen, N. J. (1990). A three-component conceptualization of organizational commitment. Human Resource Management Review. 1(1), 61–89.

Walton. (1975). Criteria for Quality of Working Life. In Loues E.Davis and Albert B. Cherns (eds.). The Quality of Working Life. New York : Free Press.