แนวทางการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ราชบุรี เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ราชบุรี เขต 2 และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ราชบุรี เขต 2 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกใช้เทคนิค Delphi โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 21 คน โดยการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยใช้ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 150 คน ด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ราชบุรี เขต 2 ประกอบด้วย ด้านการกระจายอำนาจ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านบทบาทของชุมชนในการพัฒนาการศึกษา ด้านการตรวจสอบและถ่วงดุล ด้านการบริหารจัดการตนเอง และด้านการพัฒนาทั้งระบบ และ 2) แนวทางการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 ควรมีการกระจายอำนาจของหน่วยงานราชการสู่ท้องถิ่นให้มีการตัดสินใจร่วมกันกับผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง คือคนในพื้นที่ ให้คนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพิ่มบทบาทคนในพื้นที่ให้มากขึ้น รวมทั้งการตรวจสอบบริหารจัดการร่วมกับหน่วยงานของรัฐและท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาทั้งระบบ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). คู่มือการบริหารเวลาเรียน ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
วิชิต อ่อนจันทร์ และภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2564). แนวทางการพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) ในกลุ่มคลองน้ำไหลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 10(1), 100-108.
วุฒิพงษ์ แสนจันทร์, วิชาญ เหรียญวิไลรัตน์ และณัฐภูมินทร์ ยศแก้ว. (2564). การกระจายอำนาจการบริหารการศึกษาต่อการบริหารสถานศึกษาโรงเรียนบ้านขุนประเทศ สังกัดเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการรัตนบุศย์ (RATANABUTH JOURNAL). 3(3), 1-13.
สงบ อินทรมณี. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 16(1), 353-360.
สุมลฑา เพชรใส และเด่น ชะเนติยัง. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยุคการศึกษา 4.0. วารสารมหาจุฬานาคร ทรรศน์. 6(6), 3111-3123.
สุรัสวดี หุ่นพยนต์, อำพา แก้วกำกง และวทัญญู ใจบริสุทธิ์. (2560). การกระจายอำนาจทางการศึกษา จากนโยบายสู่การปฏิบัติ: กรณีศึกษาเปรียบเทียบสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยและเกาหลีใต้. วารสารสถาบันพระปกเกล้า. 15(2), 49-69.
Krejcie & Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3),607 – 610.