การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามปลายเปิดและแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่ามัธยฐาน (Median) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile range) ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบการนิเทศการภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีทั้งสิ้น 5 องค์ประกอบหลัก 14 องค์ประกอบย่อย และ 84 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการนิเทศภายในสถานศึกษา มี 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้สอน ศึกษานิเทศก์ และครูวิชาการมี 31 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านวิธีการนิเทศภายในสถานศึกษา มี 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการนิเทศสภาพที่เป็นจริงของโรงเรียน การวางแผนการนิเทศ และกำหนดวิธีการหรือกิจกรรมการนิเทศ มี 21 ตัวบ่งชี้ 3) ด้านเครื่องมือที่ใช้ในการนิเทศ มี 3 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสังเกต และแบบบันทึก มี 9 ตัวบ่งชี้ 4) ด้านบรรยากาศการนิเทศภายในที่เอื้อต่อการนิเทศภายในสถานศึกษา มี 2 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ดี เอื้อต่อการปฏิบัติงาน และโรงเรียนมีความพร้อมด้านวัสดุ อุปกรณ์ การปฏิบัติงานสื่อและเครื่องมืออื่น ๆ มี 12 ตัวบ่งชี้ 5) ด้านหลักสูตรสถานศึกษา มี 2 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการนิเทศด้านการพัฒนาหลักสูตร และร่วมกันกำหนดแนวทางและวิธีการนิเทศด้านการพัฒนาหลักสูตร มี 11 ตัวบ่งชี้ แต่ละองค์ประกอบทั้ง 5 ด้าน ค่ามัธยฐาน (Median) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile range) อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรองทอง จิรเดชากุล. (2550). คู่มือการนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : ธาราอักษรการพิมพ์.
ชารี มณีศรี. (2542). การนิเทศการศึกษา (EDUCATIONAL SUPERVISION). (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : โสภณการพิมพ์.
ทิพวรรณ ถาวรโชติ. (2564). รูปแบบการนิเทศด้วยเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมประสิทธิผล ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาดุษฎี บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นิพา ตรีเสถียรไพศาล. (2560). รูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน : กรณีศึกษาโรงเรียนปทุมคงคา. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา
บุญชม ศรีสะอาด. (2532). วิธีการทางสถิติสำหรับนักวิจัย เล่ม 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เจริญผล.
ปาจรีย์ หงษ์แก้ว. (2563). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ไพลิน สุมังคละ. (2559). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนการสอนสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิชนีย์ ทศศะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนปฏิบัติราชการ 4 ป ของสํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. กรุงเทพฯ : สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. (2554). คู่มือการนิเทศภายในปีการศึกษา 2554 – 2557 โรงเรียนราชประชาสมาสัยฝ่ายมัธยมรัชดาภิเษกในพระบรมราชูปถัมภ์โรงเรียนมาตรฐานสากล (World class standard school). สำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). แนวทางการบริหารจัดการ หลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด. (2557). ความเป็นมาของการแบ่งกลุ่มจังหวัด. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2566. จาก http://www.osm.moi.go.th/images/stories/april/osm1.pdf.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Harris, Ben M.(1985). Supervision behavior in education. Englewood Cliffs : Prentice - Hall.
Likert, R. (1967). The method of constructing and attitude scale in martin Fishbein. Readings in attitude theory and measurement.
Lowell & Wiles, (1983). Supervision, For better school. 5th ed., Englewood Cliffs, New Jersey: Prentic- Hall.
Macmillan,T.T. (1971). The delphi techniques. Paper Presented at the annual meeting of the California Junior Colleges Associations Committee on Research and Development. California: Monterey.