ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2

Main Article Content

จิตติ คู่กระสังข์
ทินกร พูลพุฒ
รวงทอง ถาพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา 4) สร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สพป.รอ      2. กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 335 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับ มาก 2. ประสิทธิผลของสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับ มาก 3. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 ด้าน คือ ด้านผู้นำของผู้นำ ด้านผู้นำการเรียนรู้แบบทีม ด้านผู้นำที่มีความคิดสร้างสรรค์  และด้านผู้นำมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลของสถานศึกษาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 ซึ่งตัวแปรทั้ง 4 ตัวแปร สามารถอธิบายการผันแปรของระดับประสิทธิผลของสถานศึกษาได้ร้อยละ 62 สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ  gif.latex?\widehat{Y}  =  1.97  +  0.32 (X2)  +  0.44(X4)  +  0.30(X1)  +  0.12(X3) และเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้  gif.latex?\widehat{Z}  =  0.41(Z2)  +  0.63(Z4)  +  0.39(Z1)  +  0.16(Z3)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติ์กาญน์ ปฎิพันธ์. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คารมณ์ เพียรภายลุน. (2558). ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ. วารสารวงการครู. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : บี. เค. อินเตอร์ปริ้น

จุฑาธิปต์ ทัพไทย. (2560). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนอนุบาลสามเสน (สลากกินแบ่งรัฐบาลอุปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชัยยนต์ เพาพาน. (2560). ภาวะผู้นำทางการศึกษาและนวัตกรรมทางการบริหาร: กระบวนทัศน์ใหม่ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา. คณะครุศาสตร์

มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

ทิพวรรณ สำเภาแก้ว. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สระบุรีแก้ว เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

นเรศ บุญช่วย. (2553) แผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ที่เหมาะสมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ ค.ด. (การบริหารการศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

เบ็ญจมาศ หนูไชยทอง. (2561).ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. หลักสูตรครุสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.

วินา สุทธิโพธิ์ และจักรกฤษณ์ โพดาพล. (2561). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 7(2), 99 – 114.

สาวิตรี จักปั่น. (2560). สำนักงานเขตพื้นความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุภาพ ฤทธิ์บำรุง. (2557). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 8(2),190-198.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต2. (2564).สารสนเทศทางการศึกษา ประจำปี 2564. กลุ่มนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา.

Mott, P.E (1990). The fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. New York: Currency Doubleday