การพัฒนาองค์ประกอบการบริหารงานวิชาการที่มีผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3

Main Article Content

ชุติภา กันนุฬา
เสถียร งอยผาลา
เสงี่ยม บุษบาบาน
ณัฐพัชร รัตนกนกวัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารงานวิชาการที่มีผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 2) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาองค์ประกอบการบริหารงานวิชา  การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ 1) กำหนดแนวคิดการวิจัย 2) พัฒนาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการบริหารงานวิชาการ ด้วยเทคนิคเดลฟาย ผู้เชี่ยวชาญ 21 คน 3) จัดสนทนากลุ่ม 8 คน 4) ประเมินความความคิดเห็นโดยผู้บริหารสถานศึกษาและผู้เชี่ยวชาญ 150 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ  ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และพิสัยระหว่างควอไทล์  ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้เชี่ยวชาญ ให้ความเห็นด้วยทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตรการเรียนการสอน ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านกระบวนการเรียนการสอนของครู ด้านคุณภาพของผู้เรียน ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านนโยบายการศึกษา รวมเฉลี่ยร้อยละ 47.09 รวมถึงตัวชี้วัดองค์ประกอบทั้ง 31 ข้อ 2) การสนทนากลุ่มเห็นสอดคล้องว่า องค์ประกอบการบริหารงานวิชาการ เหมาะสมดี พร้อมได้ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะ และ 3) การประเมินความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและผู้เชี่ยวชาญ 150 คน พบว่า ทุกคนเห็นด้วยองค์ประกอบการบริหารงานวิชาการที่มีผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเหมาะสมมากที่สุด ซึ่งมีรวมเฉลี่ย (x= 4.23, SD.= 0.56)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมล ภู่ประเสริฐ. (2560). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. (ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เสริมสินพรีเพรส ซิสเท็ม.

คณวัฒน์ พรสุริยโรจน์. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อการสอนเกี่ยวกับอาเซียนสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี. ค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธีระวีร์ บัวหลวง ศุภพิชญพงษ์ และมนสิการ เฮงสุวรรณ. (2561). การพัฒนาทัศนคติต่อค่านิยม 12 ประการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยบูรณาการค่านิยม 12 ประการ ในการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย. กลุ่มบริหารวิชาการ โรงเรียนโยธินบูรณะ และอาจารย์ประจำสาขาวิชาการสอนภาษาไทย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย:คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ และพิศมัย เสรีขจรกิจเจริญ. (2560). ระเบียบวิธีการวิจัยทางการสาธารณสุข: กรณีศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร. คณะสาธารณสุขศาสตร์ ภาควิชาพื้นฐานสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา.

วันวิสา พรหมสุวรรณ์ (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). คู่มือปฏิบัติงานด้านการบริหารทั่วไปสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตามกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา. สำนักนิติการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. (2562). การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ปีการศึกษา 2561 และ 2562 วิชาวิทยาศาสตรของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3

Kundu, R. and Bain, C. (2006). Webquests: Utillzing Teachnology in a Constructivist Manner to Facilitate meaningful preservice learning. Art Education, 59, 6-11.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins

Publishers.