การพัฒนาเทคโนโลยีเสมือนจริงเพื่อส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดลำปาง

Main Article Content

ปรมินทร์ วงษ์คำสิงห์
ณัฎฐ์ รัตนศิริณิชกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อเทคโนโลยีเสมือนจริงเพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการจัดการเรียนรู้ของครู 2) เปรียบเทียบทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ของครู ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยสื่อเทคโนโลยีเสมือนจริงและกลุ่มที่ได้จัดการเรียนรู้โดยวิธีปกติ 3) ศึกษาความพึงพอใจของครูต่อสื่อเทคโนโลยีเสมือนจริงในการส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดลำปาง จำนวน 2 กลุ่มรวมทั้งสิ้น 40 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย กลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม และ กลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีเสมือนจริง สำหรับส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดลำปาง จากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 2) ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการจัดการเรียนรู้ของครู ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยสื่อเทคโนโลยีเสมือนจริง สูงกว่า กลุ่มที่ได้จัดการเรียนรู้ โดยวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3) ผู้เรียนที่เรียนด้วยสื่อเทคโนโลยีเสมือนจริง มีความพึงพอใจโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรินทร อุ่มไกร และ ไกยสิทธิ์ อภิระติง. (2562). การพัฒนาสื่อดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริมโดยอาศัยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD

ในรายวิชาคอมพิวเตอร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ , 5(2), 18-27

จิรวดี โยยรัมย์ และ สิทธิโชค น้อยเกิดพะเนาว์. (2562). การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียสอดแทรกการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม (AR) เรื่อง ดาราศาสตร์และอวกาศสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 (น 2604-2609) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

จิรายุ คุ้มถนอม. (2563). ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง งานเขียนแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนภาพฉาย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสุคนธีร. (การค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชูศรี วงศ์รัตนะ.(2560). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรียา สงค์ประเสริฐ. (2565). การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ 3D&3Srr .วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 7(2), 18-38.

ภวัตวริษฐ์ ธัญวัฒนยิ่ง. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดหมวกหกใบกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ .วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

สมนึก ภัททิยธนี. (2562). การวัดผลการศึกษา. ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2565). ทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล ตาม (ว6/2561). สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2565, จาก https://www.ocsc.go.th/digital_skills2.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2564). นโยบายและจุดเน้นการดําเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มแผนงาน สำนักงาน กศน.