การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และสภาพที่เป็นไปได้ ของการบริหารโรงเรียนกวดวิชาเพื่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน ในโรงเรียนกวดวิชาพัฒนาวิชาการ จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

กรกฤช ศรีวิชัย
ปาริชาติ บัวเจริญ
จรัญญา เทพพรบัญชากิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุุประสงค์์ เพื่อศึกษา (1) สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนกวดวิชาเพื่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน (2) สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนกวดวิชาเพื่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน และ (3) สภาพที่เป็นไปได้ของการบริหารโรงเรียนกวดวิชาเพื่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน ประชากร  คือ ครู ผู้ปกครองและนักเรียนของโรงเรียนกวดวิชาพัฒนาวิชาการ จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ให้ข้อมูล คือ ครู ผู้ปกครองและนักเรียน จำนวน 156 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม (IOC = 0.60-1.00, α = 0.94-0.97) และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และสภาพที่เป็นไปได้ของการบริหารโรงเรียนกวดวิชาเพื่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิิเคราะห์์ข้อมูล ได้้แก่่ ค่าความถี่่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนกวดวิชาเพื่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) สภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (3) สภาพที่เป็นไปได้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และควรพัฒนาในด้านเนื้อหา หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การจัดรายวิชา การวัดและประเมินผลสื่อ เทคโนโลยีและนวัตกรรม การจัดทำบัญชี ค่าตอบแทนของครู การกำหนดค่าใช้จ่ายในการเรียนและการผ่อนชำระ การให้ทุนการศึกษา การคัดเลือกและสรรหาครู การเพิ่มช่องทางในการติดต่อ การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ การระบุหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่ การจัดตารางสอน การตรวจสอบและบำรุงรักษาอาคารสถานที่และอุปกรณ์ต่างๆ การรักษาความสะอาดและพัฒนาระบบการรักษาความปลอดภัย รวมทั้งการเพิ่มช่องทางการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ จันทร. (2564). การบริหารสถานศึกษายุคโลกพลิกผันฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

กมลวรรณ พันธุ์ดำหริ. (2564). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนนอกระบบประเภทกวดวิชาสู่มาตรฐานการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

กฤติยา แผ่นทอง. (2563). การบริหารวิชาการโรงเรียนกวดวิชาตามแนวคิดยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฬนี วิริยะกิจไพศาล. (2559). กลยุทธ์การตลาดกับการตัดสินใจเลือกโรงเรียนกวดวิชาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชูกิจ ลิมปิจำนงค์. (2565). School Reopening and Teacher Empowerment to cope with the Next Normal in Education. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2566, จาก https://m.mgronline.com/qol/detail/

ธนวิทย์ อิ่มยิ้ม. (2561). กลยุทธ์การตลาดเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของการประกอบธุรกิจกวดวิชาในเขตกรุงเทพมหานคร.ดุษฎีนิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

นลิศา เตชะศิริประภา. (2564). โรงเรียนกวดวิชาในยุคนี้ไม่จำเป็นแล้วหรือยิ่งจำเป็นมากกว่าเดิม. สืบค้น เมื่อ 28 ธันวาคม 2565, จาก https://plus.thairath.co.th/topic/money/100564

ประภาวัลย์ ชวนไชยะกูล. (2554). การศึกษาสภาพและผลกระทบของโรงเรียนกวดวิชาในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปัญญา ศิริโกไศยกานนท์. (2559). กลยุทธ์การตลาดธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

พระใบฎีกาพงษ์นรินทร์ ปิยงฺกโร.(2561). การบริหารกิจกรรมนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ.ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2562). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด–19.วารสารศิลปะการจัดการ, 4(3), 783–795.

วารุณี พูนพิพัฒน์กิจ. (2564). แบบจำลองความสำเร็จของโรงเรียนกวดวิชาในประเทศไทย.ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วิทยา พัฒนเมธาดา. (2565). การจัดการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2566,จาก https://www.kansuksa.

ศศิมา เลิศเกษมชัย. (2558). ปัจจัยการตัดสินใจเลือกโรงเรียนกวดวิชาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). รายงานประจำปี พ.ศ. 2564. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2566, จาก https://www.niets.or.th/th/catalog/view/431.

สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2564). โรงเรียนกวดวิชาเงาสะท้อนความเหลื่อมล้ำและล้มเหลวของการศึกษาไทย. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2565. จาก https://research.eef.or.th.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2565). ผลการประเมิน PISA 2018. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2566, จาก https://pisathailand .ipst.ac.th/pisa2018-full/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุดารัตน์ วุฒิมงคลพานิช. (2559). ปัจจัยต่อการตัดสินใจซื้อคอร์สเรียนจากสถาบันกวดวิชาของนักเรียนเขตกรุงเทพมหานคร.การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุภัทรศักดิ์ คำสามารถ. (2563). แนวทางการบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น. Journal of Modern Learning Development, 5(3), 253.

อรรถพล ตรึกตรอง. (2564). ธุรกิจกวดวิชาหมื่นล้านระส่ำปิดพันแห่ง. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2566,จาก https://www.prachachat.net/ prachachat- top-story/news-641796.

อัญชลี ศรีวิชัย. (2563). กลยุทธ์การบริหารและจัดการโรงเรียนกวดวิชาที่สอดคล้องกับการศึกษายุคดิจิทัล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

เอกอมร เอี่ยมศิริรักษ์. (2555). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนกวดวิชาเพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบสังคม.ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3),607-610.