อินโฟกราฟิกและการเข้าถึงโครงการความช่วยเหลือทางสังคม ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษา ในเขตและนอกเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

โชติกา บรรจงปรุ
อจิรภาส์ เพียรขุนทด

บทคัดย่อ

สื่อประชาสัมพันธ์อินโฟกราฟิกมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการเข้าถึงบริการของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาวิกฤตที่ต้องเร่งนำส่งสวัสดิการให้แก่ประชาชนจำนวนมาก งานวิจัยนี้มุ่งให้คำตอบของคำถามที่ว่าการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบอินโฟกราฟิกสามารถช่วยให้ผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมาเข้าถึงความช่วยเหลือในโครงการความช่วยเหลือทางสังคมของรัฐในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษาและใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้สูงอายุ จำนวน 20 คนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในและนอกเขตเมืองนครราชสีมาผลการวิจัยพบว่า การประชาสัมพันธ์ในรูปแบบอินโฟกราฟิก (Infographic) ช่วยให้ข้อมูลแก่ผู้สูงอายุได้ แต่ยังไม่สามารถช่วยให้ผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมาลงทะเบียน   และเข้าถึงสวัสดิการฉุกเฉินจากโครงการเราไม่ทิ้งกัน โครงการเราเที่ยวด้วยกัน โครงการคนละครึ่ง และโครงการเราชนะได้ด้วยตนเอง เนื่องจากผู้สูงอายุขาดทักษะดิจิทัลในการลงทะเบียนในระบบออนไลน์ โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงโครงการความช่วยเหลือทางสังคมของผู้สูงอายุ ได้แก่ ความเพียงพอของข้อมูล การเข้าถึงแหล่งบริการและความสะดวก ค่าใช้จ่ายสำหรับการประชาสัมพันธ์และการยอมรับคุณภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1766.

กรุงเทพธุรกิจ. (2564). เปิดสถิติจังหวัดใช้จ่ายคนละครึ่งเฟส 3 สูงสุด. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2566, จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/958244

จงกลณี จงพรชัย, กฤตติกาตัญญะ แสนสุข และลาวัลย์ ศรัทธาพุทธ. (2559). อินโฟกราฟิกและกาประยุกต์ในงานสุขภาพและเภสัชกรรม INFOGRAPHIC AND ITS APPLICATIONS IN HEALTH AND PHARMACY. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, 11(2), 98-120.

จงรัก เทศนา. (2561). อินโฟกราฟิกส์ (Infographics). สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2566, จาก https://chachoengsao.cdd.go.th.

จิรโรจน์ จิระเจริญวงศ์ษา. (2564). ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงระบบสวัสดิการผู้สูงอายุของรัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(3), 94-102.

ฐาปณี เพ็งสุข. (2563). กระบวนการพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิกเพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวผ่านเว็บไซต์ กรณีศึกษา: สะพานหิน ตำบลท่าลี่ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. Silpakorn University Journal, 40(4),36-51.

ธนะรัตน์ ธนากิจเจริญสุข และยงยุทธ ศรีแสงอ่อน. (2565). การพัฒนาอินโฟกราฟิกแบบความจริงเสริมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. Journal of MCU Nakhondhat, 9(9), 91-105.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2564). เราชนะ” เปิดรายชื่อ 5 จังหวัด ยอดการใช้จ่ายวงเงินสิทธิสูงสุด. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2566, จาก https://www.prachachat.net/breaking-news/news-623521

พุทธิพันธุ์ หิรัณยตระกูล และไตรสรณ์ ถิรชีวานนท์. (2563). จากปิดเมืองสู่ฟื้นฟู : วิกฤตการว่างงาน แผลเป็น ทางเศรษฐกิจ สู่การสร้างงานและศักยภาพแรงงานในระยะยาว. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2566, จาก https://tdri.or.th/2020/09/the-unemployment-impacts-of-covid-19/.

ภานนท์ คุ้มสุภา. (2558). อินโฟกราฟิกเพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคในยุคการตลาดเชิง เนื้อหา. Journal of communication and innovation NIDA, 2(1), 155-172.

ยศ วัชระคุปต์ และสมชัย จิตสุชน. (2563). ผลกระทบของโควิด-19 ต่อผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2566, จาก https://tdri.or.th/2020/09/the-impact-of-covid-19-on-older-persons/

ลฏาภา อินทรมหา. (2564). รัฐสวัสดิการกับการแก้ปัญหาสังคม. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม2566, จาก https://www.schoolofchangemakers.com/knowledge/28369/.

วนาลี อัคร พราหมณ์ และมาริญา ทรงปัญญา.(2563).การออกแบบกราฟิกเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สำหรับผู้สูงอายุ.วารสารศิลปกรรมและการออกแบบแห่งเอเชีย, 2(2), 37-63.

สุพิศ เสียงก้อง. (2564). การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ. วารสารศิลปกรรมบูรพา, 24(1), 131-142.

สุภาวดี สุวรรณเทน, นิตยา กินบุญ, สุวิช ถิระโคตร, ชญา หิรัญเจริญเวช และลฎาภา ศรีพสุดา. (2556). สภาพปัญหาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. Journal of Graduate School Sakon Nakhon Rajabhat University, 16 (74),235-245.

Nadia belhaj hassine belghith and Tanida Arayavechkit. (2021). ผลกระทบของโควิด-19 ต่อครัวเรือนในประเทศไทย – ข้อมูลเชิงลึกจากการสำรวจแบบเร่งด่วนทางโทรศัพท์. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2566, จาก https://blogs.worldbank.org/th/eastasiapacific/phlkrathbkhxngokhwid-19-txkhraweruuexninpraethsithy

The Chapt. (2565). infographic คืออะไร? นำเสนอข้อมูลผ่านรูปภาพ แบบเข้าใจง่าย. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2566, จาก https://thechapt.com/infographic.

Willam, T. j., & Penchansky, R. (1981). The Concept of Access: Definition and Relationship to Consumer Satisfaction. (Lippincott) Retrieved from jstor: https://www.jstor.org/stable/3764310.