มาตรฐานความปลอดภัยสินค้าผักและผลไม้ของประเทศไทย: หลักความสอดคล้องกลมกลืนภายใต้ความตกลงว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัย และสุขอนามัยพืช

Main Article Content

จรรยา สุวัฒนพิเศษ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์การค้าระหว่างประเทศในการค้าสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย ภายใต้หลักการส่งเสริมให้เกิดความสอดคล้องกลมกลืนของความตกลงว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช จุดมุ่งหมายต่อมาคือเพื่อศึกษาด้านกฎหมาย กฎระเบียบในการดำเนินมาตรการสุขอนามัยด้านความปลอดภัยอาหาร และมาตรฐานความปลอดภัยสินค้าผักและผลไม้ของประเทศไทยและมาตรฐานโคเด็กซ์สำหรับความปลอดภัยของสินค้าผักและผลไม้ ตลอดจนนำเสนอผลการศึกษามาตรฐานความปลอดภัยสินค้าผักและผลไม้ของประเทศไทยกับหลักความสอดคล้องกลมกลืนของมาตรฐานโคเด็กซ์ซึ่งเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศด้านความปลอดภัยอาหาร เพื่อแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติตามพันธกรณีของประเทศไทยเพื่อลดอุปสรรคทางการค้า ด้วยการปรับใช้มาตรฐานระหว่างประเทศที่มีอยู่และสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคว่ามาตรฐานสินค้าผัก และผลไม้ของไทยมีความปลอดภัยในระดับมาตรฐานสากล

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงพาณิชย์. (2566). สินค้าส่งออกสำคัญของไทยตามโครงสร้างสินค้าส่งออก. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2566, จาก https://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report.

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว. (2566). แผนการเฝ้าระวังและชี้แนะอาหารนำเข้าประจำปีงบประมาณญี่ปุ่น 2566 (เมษายน 2566 – มีนาคม 2567), สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.opsmoac.go.th/tokyo-regulation-preview-451191791806.

Codex Alimentarius Commission. (2023). Members. Retrieved on May 18, 2023, From https://www.fao.org/fao-who-codexalimentarius/about-codex/members/en/.

ePing SPS&TBT Platform. (2023). Search notifications. Retrieved on January 18, 2023, From https://www.epingalert.org/en/Search/Index.

European Commission. (2023). Commission Implementing Regulation (EU) 2023/174. Retrieved on May 18, 2023, From https://eur-lex.europa.eu/legal content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32023R0174&qid=1692083005156.

Food and Agiculture Organization of the United Nations. (1998). Food Quality and Safety Systems - A Training Manual on Food Hygiene and the Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP) System. Rome: United Nations.

Food and Agriculture Organization of the United Nations and World Health Organization. (2019). The Year of Food Safety. Rome: United Nations.Joint WHO/FAO Expert Consultation. (2003). Diet, Nutrition, and the Prevention of Chronic Diseases. WHO Technical Report Series 916.

United Nations Conference on Trade and Development. (2019). International Classification on Non-Tariff Measures. Newyork. p. vii.

World Trade Organization. (1998). European Communities -Measures Concerning Meat and Meat Products. Report of the Appellate Body.