รูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่ความเป็นเลิศ ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เชียงรายและพะเยา

Main Article Content

วุฒิชัย ใหม่วงค์
ไพรภ รัตนชูวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานและแนวปฏิบัติด้านระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สู่ความเป็นเลิศ ในโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบรูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียน และ 3) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่ความเป็นเลิศใน โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เชียงรายและพะเยา โดยการศึกษาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนต้นแบบ ผู้วิจัยได้ออกแบบการวิจัยเป็นแบบผสม (Mixed Method) ซึ่งมีทั้งเชิงปริมาณ (Quantitative Research Method) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Method) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 174 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามโดยใช้วิธี Scan QR Code วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปข้อมูล (content analysis) พบว่า แบบสอบถาม เป็นคำถามแบบตรวจสอบรายการ (Check List) ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า มีระดับการปฏิบัติ เฉลี่ย 4.26 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.57-090 ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า รูปแบบ มีองค์ประกอบสำคัญ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการ (2) จุดมุ่งหมาย (3) กระบวนการ (4) การวัดและประเมินผล (5) เงื่อนความสำเร็จ และตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่า หลักการบริหารสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติเป็นเลิศ และประสบความสำเร็จ มีหลักการและปัจจัยสำคัญ คือ นโยบายของรัฐบาล การขับเคลื่อนสถานศึกษาตามนโยบายของโรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อพัฒนานักเรียนตามช่วงวัย การพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน ให้มีความสมบูรณ์พร้อมอย่างเป็นองค์รวมทั้ง ด้านร่างกาย สติปัญญา ความรู้ความสามารถ คุณธรรมจริยธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทิศนา แขมมณี. (2556). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสศาส์น.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2559). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

ปรมาภรณ์ สนธิ. (2560). แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

ปุญชรัศมิ์ พันธุวัฒน์. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านการคัดกรองนักเรียนของโรงเรียนพร้าววิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

พิจิตรา ธงพานิช. (2560). วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร.

มนตรี สังข์ชุม. (2564). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านระบบฐานข้อมูล นักเรียนรายบุคคล ของโรงเรียนอนุบาลระนอง. วารสารวิจัยเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 5(1), 1-2.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2553). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. (2557). การวิจัยเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษา. กรงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมคิด มาวงศ์. (2554). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูสังกัดโรงเรียนเทศบาลในจังหวัดระยอง จันทบุรีและตราด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาราการบริการการศึกษา,มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2559). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง (พ.ศ.2560 – 2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย (2564). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2564. เชียงราย : กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูล.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา (2564). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2564. พะเยาว : กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูล.

Joyce & Weil. (1972). Model of teaching. 5th ed. Boston: Allyn and Bacon.

Keeves. (1988). Educational research, methodology and measurement: An international handbook. Oxford: Pergamum Press.

Lunenberg and Ornstein. (2000). Educational Administration : Concepts and Practices. 3rd ed. California: Wadsworth. p. 18.

Shermerhorn. (1999). Organizational Behavior. 7thed. New York: John Wiley & Sons, Inc.Willer, R.H.

Stoner and Wankle. (1986). Management. 3rd ed. New Delhi: Prentice-Hill.