การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดจันทบุรี เขต 2

Main Article Content

ไปรยา แลกะสินธุ์
ทรงยศ แก้วมงคล
ดวงกมล แก้วแดง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม เพื่อพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม และเพื่อยืนยันรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม      กลุ่มตัวอย่าง คือ ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูหัวหน้างาน และครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้  โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน  300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามและแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ PNI modified และไคสแควร์(Chi-Square) ผลการวิจัยพบว่า 1.สภาพที่เป็นอยู่ของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ในภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่ควรจะเป็นของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ในภาพรวม มีสภาพที่ควรจะเป็นในการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็น ของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ในภาพรวม มีความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับปานกลาง 2. รูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมได้ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การสร้างวิสัยทัศน์นวัตกรรม องค์ประกอบที่ 2 การมีศรัทธาและบารมี องค์ประกอบที่ 3 การมีกลยุทธ์นวัตกรรม และองค์ประกอบที่ 4 การเป็นนักสร้างเครือข่ายนวัตกรรม 3.ผลการยืนยันรูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 หลังการทดลองใช้มีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2557).การคิดเชิงวิเคราะห์(Analytical Thinking). (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ :ซัคเซสมีเดีย.

ฐิตินนท์ นันทะศรี. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เดชา ลุนาวงค์, วาโร เพ็งสวัสดิ์ และวันเพ็ญ นันทะศรี. (2564). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตตะวันออกเฉียงเหนือ. Dhammathas Academic Journal,21 (4),213-220.

นพรัตน์ มูลศรีแก้ว พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร และอำนาจ ชนะวงศ์.(2564). การประเมินความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา,16(3),308-317.

บุศรา ทับทิมศรี วัชรีชูชาติ และ พงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์. (2564)รูปแบบภาวะผู้นําเชิงนวตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนมาตรฐานสากล.วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ,7(1),545-558.

พิทักษ์ โสตถยาคม. (2562). สบน. ส่งสัญญาณโรงเรียนนำร่องเร่งปรับหลักสูตรเตรียมรับ นโยบาย. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2566, จาก https://www2.edusandbox .com/sandbox-curriculum/.

พิสิฐธวัฒน์ กลิ่นไธสงค์. (2559).การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา.วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,12(1),177-186.

วุฒิพงศ์ รงค์ปราณี, ชิษณุพงศ์ ทองพวงไพศาล จันทรังษี. (2564). องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน,27(4),91-102.

ศิริอร นพกิจ.(2560).การจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตผู้เรียนในศตวรรษที่ 21.วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร,8(1),53-66.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). แนวคิดเชิงนวัตกรรมสําหรับการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21.วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร,14(2),117-128.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2560). ตัวชี้วัดและสาระการ เรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สภาวะการศึกษาไทยปี 2559/2560 แนวทางการ ปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวาน กราฟฟิค จำกัด.

DuBrin, A. J. (2010). Principle of leadership. (6th ed.). International Edition: South-Western.

Radjou and Prabhu. (2015). Frugal Innovation: How to Do More with Less. Profile Books Limited, 2015.ISBN 1781253757, 9781781253755.

Wilmore, E.L. (2002). Principal leadership: Applying the new educational leadership constituent council (ELCC) standards. Thousand Oak. California: Conwin Press