กลยุทธ์การบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

วราลักษณ์ ศรีกันทา
ไพรภ รัตนชูวงศ์
สุวดี อุปปินใจ

บทคัดย่อ

 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตภาคเหนือตอนบน 2) เพื่อสร้างและพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตภาคเหนือตอนบน 3) เพื่อประเมินกลยุทธ์การบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตภาคเหนือตอนบน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ใช้กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตภาคเหนือตอนบน จำนวน 284 คน 2) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาสภาพการบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ในภาพรวม พบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการวางแผน รองลงมาคือ ด้านการนำ ด้านการควบคุมและติดตาม และด้านการดำเนินการ ตามลำดับ 2) กลยุทธ์การบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์หลัก 28 กลยุทธ์รอง ดังนี้ 1.การสร้างและพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยให้มีคุณภาพ 2.จัดหาทุนสนับสนุนการวิจัย และพัฒนาระบบการบริหารงานวิจัย เพื่อสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ 3. เสริมสร้างความเข้มแข็งทางการวิจัยและพัฒนาบุคลากรวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ 4.พัฒนาระบบและบริหารจัดการสารสนเทศงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ 5. การเผยแพร่ และถ่ายทอดผลงานวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์ 3) การประเมินกลยุทธ์มีความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของกลยุทธ์การบริหารงานวิจัยมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตภาคเหนือตอนบน อยู่ในระดับมาก คือ ร้อยละ 80-90

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2560). กลยุทธ์การส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยเพื่อพัฒนาสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 10(2).190-207.

จันทร์จิรา บุญมี และคณะ (2564). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(2),50-65.

ณัฎฐ์ณพัชร์ อ่อนตาม. (2562). เทคนิคการบริหารงานแบบ PDCA (Deming Cycle) .วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1(3),39-46.

เมธาวี ตันวัฒนะพงษ์.(2562).การบริหารงานวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน.วารสารราชธานี นวัตกรรมสังคมศาสตร์, 3(2,1-18.

ยุทธนา เกื้อกูล. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อสร้างผู้เรียนสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ทิศทางการพัฒนาอุดมศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21: การยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

ศรุดา ชัยสุวรรณ. (2561). รูปแบบการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเอกชน.วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิจิตรหัตถกร.

สาคร สุขศรีวงศ์. (2550). การจัดการจากมุมมองนักบริหาร. กรุงเทพฯ : จี พี ไซเบอร์พรินท์.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี (พ.ศ. 2561- 2580). สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2554). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม(พ.ศ.2554 - 2558) ระดับอุดมศึกษา ฉบับสถาบัน(แก้ไขเพิ่มเติม พฤศจิกายน 2554). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

Dalf, R. (2006). The New Era of Management: International Edition. Ohio: Thompson.

Drucker, Peter F. (2005). The Effective Executive in Action. Australia : Wadsworth.

Henri Fayol. (1916). General and industrial management. London: Sir Isaac Pitman and Son.

Yamane Taro. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.