รูปแบบการบริหารจัดการแนวใหม่ของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2

Main Article Content

ลัดดาพรรณ จันทร์ปรีดา
ทรงยศ แก้วมงคล
อุทัยวรรณ สายพัฒนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสภาพและความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการแนวใหม่ของโรงเรียนขนาดเล็ก 2) การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการแนวใหม่ของโรงเรียนขนาดเล็ก 3) การประเมินคุณภาพของรูปแบบการบริหารจัดการแนวใหม่ของโรงเรียนขนาดเล็ก และ 4) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการแนวใหม่ของโรงเรียนขนาดเล็กกลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 240 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์เนื้อหา และไคว์สแควร์ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพและความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการแนวใหม่ของโรงเรียนขนาดเล็กในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่ควรจะเป็นในการบริหารจัดการแนวใหม่ของโรงเรียนขนาดเล็กในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 2. รูปแบบการบริหารจัดการแนวใหม่ของโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการ 2) ภาวะผู้นำทางการบริหาร 3)กระบวนการบริหาร 4) การมีส่วนร่วม และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จในการดำเนินงาน ได้รูปแบบการบริหารจัดการแนวใหม่ของโรงเรียนขนาดเล็ก POLECAPT : P =การวางแผน, O = การจัดการองค์กร, L =การนำองค์กร, E=การประเมินผล, C =การควบคุม/การสนับสนุน, A =การปรับปรุง/พัฒนา, P=การมีส่วนร่วม, T =ทีมงาน และรูปแบบมีความถูกต้องและเหมาะสมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. หลังการทดลองใช้มีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิ่งนภา ศรีพรม.(2560).รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดชุมพรสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้.ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ชุลีพร อร่ามเนตร. (2562). ยกระดับคุณภาพคนไทย 4.0 เรียนรู้ สร้างนวัตกรรม พลเมืองเข้มแข็ง. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2563, จาก https://www.komchadluek.net/news/edu-health/365993

ฐาปณีย์ โลพันดุง.(2560). การพัฒนาระบบบริหารโรงเรียนขนาดเล็กตามแนวคิดกิจการเพื่อสังคม.หลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ทัศนีย์ บุญมาภิและคณะ. (2559). รูปแบบความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการ บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก เขตภาคเหนือตอนบน.วารสารชุมชนวิจัย,12(1),73-86.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดการและบริหารการศึกษา ในยุคปฏิรูปการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.

ประสงค์ เอี่ยมเวียง.(2556).รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 .วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย,8(24),12-23.

ภควรรณ ลุนสำโรง. (2560). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา. มหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ/กรุงเทพฯ.

วิชัย ลาธิ และ สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2564).การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(12),85-100.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. (2562). แผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ประจำปี 2562-2565 สระแก้ว. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). โรงเรียนขนาดเล็ก ภาระหรือโอกาส และรูปแบบการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2563, จาก https://www.trueplookpanya.com/ education/content/71918.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กปี พ.ศ. 2562-2565. กรุงเทพฯ: อักษรไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน : นโยบายสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2565.จาก https://www.kruachieve.com/wp-content/uploads/2020/12/04006.pdf

Bartol, K. M. & Martin, D. C. (1997). Management. New York: Mc Graw - Hill

Bertalanffy, L. V. (1920). The History and Status of General Systems Theory. Academy of Management, 15(4), 407-426.

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Participation's place in rural development: seeking clarity through specificity. World development, 8(3), 213-235.

Deming, W.E. (1943). Statistical Adjustment of Data [1-261]. Dover Publication Inc., New York.

Feigenbaum, A. (1951). Quality Control: Principles, Practice and Administration. 2 Pennsylvania Plaza. New York City: McGraw Hill Book Company Inc.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.