การใช้กิจกรรมแผนผังความคิดเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านจับใจความภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีความรู้ระดับต้นในรายวิชาภาษาญี่ปุ่น 3

Main Article Content

ชีวิน สุขสมณะ
พัชยา สุภาใจ
มาริ แก้วแดง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านจับใจความภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาก่อนและหลังการเรียน โดยใช้กิจกรรมแผนผังความคิด ประชากรวิจัยได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยพายัพ ที่ลงทะเบียนรายวิชาภาษาญี่ปุ่น 3 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมแผนผังความคิด จำนวน 8 แผน และแบบทดสอบความเข้าใจในการอ่านจับใจความภาษาญี่ปุ่น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความเข้าใจในการอ่านจับใจความภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนเพิ่มขึ้นหลังจากเรียนโดยใช้กิจกรรมแผนผังความคิด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผกาศรี เย็นบุตร. (2558). เอกสารประกอบการสอนวิชา ท.0211 (การอ่าน). กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

พวงเพชร สูนทะลาวง. (2560). ผลของการใช้แผนผังความคิดเพื่อเพิ่มพูนความสามารถการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาลาวระดับวิทยาลัยที่เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2559). Mind Mapping กับคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สำนักวิชาคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุง). (2560). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อาณัติ รัตนถิรกุล. (2566). รู้จักแผนที่ความคิด. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2566, จาก http://www.arnut.com/mindmap.

Buzan, T. (2010). Use Your Head. Great Britain: Redwood Books, Trowbridge.

Buzan, T., and Buzan, B. (2010). The Mind Map Book. London: BBC Books.

Chang et al. (2002). The Effect of Concept Mapping to Enhance Text Comprehension and Summarization. The Journal of Experimental Education, 71(1),5-23.

Gehrtz-Misumi Tomoko. (2000). 学習カウンセリングの可能性 ~語彙マップを使った学習 Ⅰ Possibilities of Learning Counseling --Learning with Word Soft Maps I--.) . Japan: Papers of the 13th International Conference on Japanese Language Teaching.

Iijima Yumiko. (2012). マインドマップ によるノートテイキングの試みー「日本事情」クラスにおけるドキュメンタリー映像視聴の記憶として」(Using Mind Mapping Skill for Note-taking: though the Note-taking Activities of Documentary Movies in Current Issue in Japan). Master thesis. Kansai University of International Studies.

Morris, A. & Dore, S.N. (1989). Learning to learn from Text. Singarpore : Addison-weekey Publishing Company.

Miyama Michisuke.(2010).「日本語上級学習者の自己評価から見える意見文作成上の問題点―メディア・リテラシー的手法を取り入れた意見文作成指導の提案― (Problems in Writing Opinion Papers Based on Self-Evaluation of Advanced Learners of Japanese -A Proposal for Teaching Opinion Writing Incorporating Media Literacy Methods.) .」. Japan: Polygrossia.V19. Ritsumeikan Asia Pacific University.

Patricia et al. (2012). “Mapping” Learning at the Secondary Level. Retrieved December 13, 2023, from https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/00098655.1997.10543936

Sasaki Mizue. (1999). 日本語教育におけるニーズ・アナリシスとカリキュラム・デザイン」 (Needs Analysis and Curriculum Design in Japanese as a Foreign Language). Japan: International Student Center, Yokohama National University.

Tanaka Sono. (2010). マインドマップよる指導法―聴解授業の実践記録―(How to use “Mind Map” in Japanese Language Teaching). Japan: Takushoku University

Ueda, Nobuhiko. (2011).マインドマップの学習ツールとしての 可能性に関する実践的研究 (Practical research on the potential of mind mapping as a learning tool)」. Japan: Tenri University.

Zhang Jie, Yamamoto Yoichi, Sha Xiucheng and Ho Jin. (2017).上海海洋大学における日本語 教育の現状と課題 ―基礎段階の教育実践を中心に― (The Status Quo and Issues of Japanese Education in Shanghai Ocean University -with the Focus on the Practice in the Foundation Stage-). Japan: Bulletin of Kyushu Kyoritsu University, 8(1),15-21.