วิถีชีวิต และอัตลักษณ์ความเป็นอิ้วเมี่ยนของบ้านในกรัง อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง

Main Article Content

สิทธิพร เขาอุ่น
จินต์ วิภาตะกลัศ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพสังคมโดยทั่วไปของชุมชนอิ้วเมี่ยนบ้านในกรัง อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง 2) ศึกษาวิถีชีวิตและประเพณีที่สำคัญของชุมชนอิ้วเมี่ยนบ้านในกรัง อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง และ 3) ศึกษาอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ การสร้างพื้นที่ทางสังคมของชุมชนอิ้วเมี่ยนบ้านในกรัง อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาพษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้าง การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่มย่อยกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพสังคมของชุมชนอิ้ว เมี่ยนบ้านในกรัง มีความเป็นอยู่แบบผสมผสาน ระหว่างจารีตแบบดั้งเดิมกับสังคมใหม่ ปกครองโดยถือหลักถืออาวุโส ผู้ชายมีสถานภาพทางสังคมสูงกว่าผู้หญิง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่กาแฟ สวนทุเรียน และปลูกยางพารา       2) ด้านวิถีชีวิตและประเพณีที่สำคัญ ชุมชนอิ้วเมี่ยนบ้านในกรัง ถึงแม้จะนับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์แต่ยังคงเคร่งครัดในการนับถือผีบรรพบุรุษ โดยเฉพาะระบบเครือญาติแบบแซ่ ตระกูล รวมถึงนับถือเทพเทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ และลำดับวันเดือนปี ในการประกอบพิธีกรรมสำคัญๆ และ 3) การธำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ และการสร้างพื้นที่ทางสังคมของชุมชนอิ้วเมี่ยนบ้านในกรังนั้น มีมาตรการกลไกความร่วมมือของภาคีเครือข่ายชุมชน ในการจัดการความรู้และรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งสื่อสารให้สังคมรับรู้ผ่านภาษา ศรัทธา อาหาร การแต่งกายแบบดั้งเดิมไว้อย่างเหนียวแน่น จึงคงดำรงไว้ซึ่งวิถีชีวิต และอัตลักษณ์ความเป็นอิ้วเมี่ยนบ้านไนกรัง ตำบล จ.ป.ร. อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง ได้อย่างเข้มแข็ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทิรา แซ่ลิ่ว. (2560). วัฒนธรรมการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยชนเผ่าอิ้วเมี่ยน. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่. 19(2), 76-87.

ณัฐนนท์ จิรกิจนิมิต. (2565). การปกครองของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเมี่ยนผ่านองค์มติ ความเชื่อ สังคม วัฒนธรรม. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 10(2), 858-870.

นพรัตน์ ไชยชนะ, อภิชาติ ใจอารีย์ และประสงค์ ตันพิชัย. (2564). กระบวนการเรียนรู้อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์มอญ: กรณีศึกษาบ้านวังกะ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, ปีที่ 9(1), 256-278.

พระครูใบฎีกาวิชาญ วิสุทโธ (ทรงราษี) และ ภักดี โพธิ์สิงห์. (2565). อัตลักษณ์ท้องถิ่นสู่การจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 9(2), 127-140.

พระมหาจักรี ญาณสมฺปนฺโน และสุรศักดิ์ อุดเมืองเพีย. (2560). ประชาชนชายขอบ. วารสานแสงอีสาน มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาเขตอิสาน, 14(2), 1-9.

มาริสา หิรัญตียะกุล และ นพดล ตั้งสกุล. (2565). การศึกษาอัตลักษณ์ถิ่นที่ในสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง. Journal of Architectural/Planning Research and Studies, 19(1), 99-113.

รฐษร ศรีสมบัติ. (2561). บทบาทของหมอผีหญิงชาวเมี่ยนในสังคมอุดมการณ์ชายเป็นใหญ่. วารสารสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 30(1),31-63.

วอยซ์ออนไลน์. (2563). ชาวเขา 'อิ่วเมี่ยน' สร้าง 'สุข' ด้วยพลังเยาวชน. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2565, จาก https://voicetv.co.th/read/YuYjsxOuo.

เสถียร ฉันทะ. (2558). กลุ่มชาติพันธุ์สองฝั่งโขง: กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ขมุ ในแขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว และขมุในจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2565, จากhttp://research.culture.go.th/medias/nt166.pdf.

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ชนเผ่าเมี่ยน หรือ เย้า ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. สืบค้น 19 กรกฎาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2101&code_db=610004&code_type=05.

องอาจ อินทนิเวศ. (2562). องค์ความรู้ จิตสำนึกรักษ์ และกระบวนการสืบทอดภูมิปัญญาด้านดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงราย. วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน, 10(1), 66-91.

เอกชัย ทวีปวรชัย. (2564). แนวทางอนุรักษ์พิธีกรรมทางความเชื่อของชาติพันธุ์เมี่ยนในประเทศไทย: การวิเคราะห์ สวอต.วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 8(2),88-104.

Gillis, A., & Jackson, W. (2002). Research methods for nurses: Methods and interpretation. Philadelphia: F.A. Davis Company.

Kitzinger, J. (1995). Qualitative Research: Introducing Focus Groups. BMJ Clinical Research, 1995 Jul 29, 311(7000):299-302 DOI: 10.1136/bmj.311.7000.299 • Source: PubMed.

Marshall, C. & Rossman, G. (2006). Doing participatory action research, (4th Ed.). Thousand Oaks: Sage.

Marshall, C. and Rossman, G. (2016). Designing Qualitative Research. 6th Edition. Thousand Oaks: SAGE.

Maehler, D. B., (2021). Determinants of ethnic identity development in adulthood: A longitudinal study. British Journal of Developmental Psychology, 40(1), 46-72.

Stringer, E.T. (2007). Action Research (Third Edition). Los Angeles: Sage.