การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านด้วยบทเรียนสำเร็จรูปออนไลน์ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์วิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยสันตพล

Main Article Content

บงกช เจนชัยภูมิ
สถิตย์ กุลสอน
มาลินี ผลประเสริฐ
เดือนฉาย ผ่องใส
เบญจสิริ เจริญสวัสดิ์
เกศรี วิวัฒนปฐพี
ทิพยวรรณ แพงบุปผา
พูนสิน ประคำมินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านด้วยบทเรียนสำเร็จรูปออนไลน์ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์วิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ให้มีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ 75/75  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษา และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยสันตพลที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนา การเรียนรู้ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 37 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling)เครื่องมือที่ใช้ 1) บทเรียนสำเร็จรูปวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านด้วยบทเรียนสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent Sample) ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านด้วยบทเรียนสำเร็จรูปออนไลน์วิชาการวิจัยเพื่อพัฒนา การเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ 76.89/77.30 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนแบบห้องเรียนกลับด้านด้วยบทเรียนสำเร็จรูปหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านด้วยบทเรียนสำเร็จรูป โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\chi&space;\bar{}=4.26, S.D.=0.45)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรวรรณ สืบสม และนพรัตน์ หมีพลัด (2560). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านด้วยการบูรณาการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียผ่าน Google Classroom. วารสารสมาคมสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 6(2), 118-127.

ณัฐรดา ธรรมเวช. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนออนไลน์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องพอลิมอร์. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 23(2), 61-74.

ฐานิตา ลิ่มวงศ์ และยุพาพร แสงฤทธิ์. (2562). ห้องเรียนกลับด้าน: การเรียนรู้แนวใหม่สำหรับศตวรรษที่ 21. วารสาร Mahidol R2R E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร, 6(2), 9-17.

เบญจพร ตีระวัฒนานนท์. (2563). พัฒนาบทเรียน ออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านเรื่องการสร้าง ภาพกราฟิกโดยโปรแกรมนำเสนอสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิจารณ์ พานิช. (2556. ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพฯ: เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.

แวฮาซัน แวหะมะ และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบห้องเรียนกลับด้านด้วยการสอนสดสู่การบันทึกการสอนบนพื้นฐานเฟซบุ๊กที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 สาขาวิชาการวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสาร Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(3), 1786-1804.

ศิริพล แสนบุญส่ง. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านโดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคอมพิวเตอร์สำหรับครูของนักศึกษาปริญญาตรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถุมภ์, 11(พิเศษ), 133-147.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2575. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวาน กราฟฟิค จำกัด.

Crawford, Jr.H.T. (2017). Flipped Learning Influence on Active Learning and Assessments in the Postsecondary Hospitality Classroom : an Action Research Study. Doctor of Education. Capella University.