กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนกวดวิชาเพื่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน

Main Article Content

กรกฤช ศรีวิชัย
จรัญญา เทพพรบัญชากิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และสภาพที่เป็นไปได้ของการบริหารโรงเรียนกวดวิชาเพื่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน (2) สร้างกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนกวดวิชาเพื่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน (3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนกวดวิชาเพื่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน มีรูปแบบผสมผสาน ประชากร คือ ครู ผู้ปกครองและนักเรียนในโรงเรียนกวดวิชาพัฒนาวิชาการเชียงใหม่ แบ่งเป็น 3 ขั้น (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และสภาพที่เป็นไปได้ของการบริหารโรงเรียนกวดวิชาเพื่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน จากผู้ให้ข้อมูล 156 คน โดยใช้แบบสอบถาม (IOC= 0.60-1.00, α= 0.94-0.97) และแบบสัมภาษณ์ (2) สร้างกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนกวดวิชาเพื่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน (3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์เนื้อหา ผลวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบันโดยรวม   อยู่ระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์และสภาพที่เป็นไปได้โดยรวมอยู่ระดับมากที่สุด (2) กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนกวดวิชา เพื่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนมี 5 กลยุทธ์หลัก 11 กลยุทธ์รอง 50 วิธี (3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ ได้ 5 กลยุทธ์หลัก 11 กลยุทธ์รอง 51 วิธี คือ (1) สรรหาและธำรงรักษาบุคลากรอย่างยั่งยืน (2) เสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการบนพื้นฐานสู่ความเป็นเลิศ (3) ดูแลนักเรียนและความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล (4) พัฒนางานบริการทางการศึกษาเชิงรุก (5) ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาดวิชาการแนวใหม่


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ พันธุ์ดำหริ. (2564). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนนอกระบบประเภทกวดวิชาสู่มาตรฐานการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ:สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

จุฬนี วิริยะกิจไพศาล. (2559). กลยุทธ์การตลาดกับการตัดสินใจเลือกโรงเรียนกวดวิชาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นลิศา เตชะศิริประภา. (2564). โรงเรียนกวดวิชาในยุคนี้ไม่จำเป็นแล้วหรือยิ่งจำเป็นมากกว่าเดิม. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2564. จาก https://plus.thairath.co.th/topic/money/100564.

ปัญญา ศิริโกไศยกานนท์. (2559). กลยุทธ์การตลาดธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2562). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด–19. วารสารศิลปะการจัดการ, 4(3), 783–795.

ยุทธชาติ นาห่อม. (2564). การบริหารสถานศึกษาบนฐานความปกติใหม่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานโรงเรียนเอกชน ประเภทกวดวิชา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549. (16 ธันวาคม 2549). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 119 ตอน 123ง. หน้า 2.

วัฒนพล ชุมเพชร. (2561). การพัฒนาระบบเช็คชื่อเพื่อติดตามพฤติกรรมการเข้าเรียนของนักศึกษาแบบมีส่วนร่วมผ่านระบบออนไลน์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

วารุณี พูนพิพัฒน์กิจ. (2564). แบบจำลองความสำเร็จของโรงเรียนกวดวิชาในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). รายงานประจำปี พ.ศ. 2564. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2565, จาก https://www.niets.or.th/th/catalog/view/431.

สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2564). โรงเรียนกวดวิชาเงาสะท้อนความเหลื่อมล้ำและล้มเหลวของการศึกษาไทย. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2564, จาก https://research.eef.or.th/.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2565). ผลการประเมิน PISA 2018. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2565, จาก https://pisathailand .ipst.ac.th/pisa2018-full/.

สุดารัตน์ วุฒิมงคลพานิช. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อคอร์สเรียนพิเศษจากสถาบันกวดวิชาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 ในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุภัทรศักดิ์ คำสามารถ. (2563). แนวทางการบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น. Journal of Modern Learning Development, 5(3), 245-259.

อรรถพล ตรึกตรอง. (2564). ธุรกิจกวดวิชาหมื่นล้านระส่ำปิดพันแห่ง. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2564,จาก https://www.prachachat.net/prachachat- top-story/news-641796.

อัญชลี ศรีวิชัย. (2563). กลยุทธ์การบริหารและจัดการโรงเรียนกวดวิชาที่สอดคล้องกับการศึกษายุคดิจิทัล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

Force, T., & UNESCO. (2020). 7 ways to help teachers succeed when schools reopen.สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2564, จาก https://www.educathai.com/knowledge/articles/.

Hong Kong Examination and Assessment Authority. (2013). Is attending tutorial classes a new trend?. สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2565, จาก https://www.hkeaa.edu.hk/DocLibrary/SBA/HKDS.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Rushforth, Katie. (2012). The Quality and Effectiveness of One-to-One Private Tuition in England. Doctor of Philosophy Department of Psychology and Human Development Institute of Education. University of London.