แนวทางการพัฒนาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในยุค AI

Main Article Content

กิติพิเชษฐ์ ธูปบูชา
สิทธิพร เขาอุ่น
สุรพงษ์ วิริยะ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่ออธิบายแนวทางการพัฒนาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในยุค AI โดยทำการศึกษาและวิเคราะห์บนพื้นฐานของแนวคิด ทฤษฎี และการวิจัย ซึ่งสถานการณ์และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก ได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้กันอย่างแพร่หลาย การจัดการทรัพยากรมนุษย์จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างมากมาย โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในองค์การหลากหลายรูปแบบ เช่น การนำเทคโนโลยี AI มาวิเคราะห์บุคคลเพื่อที่จะคัดเลือกเข้าทำงานในตำแหน่งงานที่เหมาะสม การคำนวณเงินเดือนที่พึงได้จากปริมาณงานหรือตำแหน่งงานการจัดอบรมผ่านระบบออนไลน์โดยใช้ AI ตรวจสอบและรวบรวมข้อมูล เป็นต้น ดังนั้น ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ จึงจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับองค์การ เพื่อการเพิ่มศักยภาพในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมถึงการยกระดับคุณภาพองค์การให้สามารถแข่งขันในตลาดสากลได้อย่างเข้มแข็ง ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าองค์การสามารถก้าวเข้าสู่ ยุค AI ได้อย่างราบรื่น การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในยุค AI จำเป็นต้องหาแนวทางการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในทุกมิติ การปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ การสร้างวัฒนธรรมองค์การที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลในองค์การ ให้สามารถทำงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีความคล่องตัวสูง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เจริญศักดิ์ แซ่จึง. (2562). การวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจในยุคของปัญญาประดิษฐ์.วารสารธุรกิจปริทัศน์, 11(2), 157-177.

ชญานุช จาตุรจินดา. (2564). AI กับการบริหารงานบุคคล. วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 51(1), 1-22.

โชติวริทธิ์ ชัชชัยยากิตติ์. (2564). การบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในถานการณ์ปัจจุบัน. วารสาร มจร. เลย ปริทัศน์, 2(3), 175-189.

ฐานวัฒน์ ฐิติภัทร์อภิโชติ และอรไท ชั้วเจริญ. (2563). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงงานสินเชื่อ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 9(2), 123-134.

ณัฎฐพัชร์ ลาภบำรุงวงศ์. (2561). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรให้ประสบความสำเร็จ.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 10(2), 261-266.

ไทยรัฐออนไลน์. (2566). VUCA World...โลกผันผวน ความท้าทายในศตวรรษใหม่.สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม2566, จาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/health-and-beauty/2705926

ทศพร มะหะหมัด และมนัส สุทธิการ. (2563). ปัญญาประดิษฐ์การจัดการทรัพยากรบุคคลสมัยใหม่ในองค์กร. วารสาร RMUTT Global Business and Economics Review, 15(1), 75-89.

นรา บรรลิขิตกุล. (2563). ผู้นำในยุค AI ตามแนวทางวิถีพุทธ. วารสาร มจร. เลย ปริทัศน์, 1(2), 41-53.

บุญอนันต์ พินัยทรัพย์. (2562). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: โครงการเอกสารและตำรา คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

มติชนออนไลน์. (2564). Digital Disruption คืออะไร และเราต้องเตรียมรับมืออย่างไร? สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2566, จาก https://www.matichon.co.th/publicize/news_2936990

วิชุดา สร้อยสุด, เมธินี อินทร์บัว, จีรภา มิ่งเชื้อ, ยุวดี เคน้ำอ่าง และโชติ บดีรัฐ. (2564). การจัดการทรัพยากรมนุษย์หัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนองค์กรยุคปัจจุบัน. Journal of Modern Learning Development, 6(5), 341-350.

สกล บุญสิน. (2560). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. เชียงใหม่: ศูนย์บริหารงานวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุพิชญา ลี และเพ็ญศรี ฉิรินัง. (2566). การบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อความสามารถทางการแข่งขัน. วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 6(2), B1-B13.

อมรรักษ์ สวนชูผล. (2563). การจัดการองค์กรธุรกิจกับปัญญาประดิษฐ์เพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 10(3), 155-164.

Dessler, G. (2020). Human Resource Management. 16thed. New York: Pearson.

Heric, M. (2018). HR new digital mandate. Digital technologies have become essential for HR toengage top talent and add value to the business. Bain & Company. Retrieved fromhttps://www.bain.com/contentassets/3dea09cc27fd426abfb35f9caa0e97dc/bain_brief_-hrs_new_digital_mandate.pdf.

Hossin, Md S., Ulfy, M. A., Ali, I., Karim, Md W. (2021). Challenges in Adopting Artificial Intelligence (AI) in HRM Practices: A study on Bangladesh Perspective. International Fellowship Journal of Interdisciplinary, 1(1), 66-73.

Johansson, J., & Herranen, S. (2019). The application of artificial intelligence (AI) in human resource management: Current state of AI and its impact on the traditional recruitment process. Jonkoping University.

Noe, Raymond A., John R. Hollenbeck, Barry Gerhart, & Patrick M. Wright. (2021). Human resource management: Gaining a competitive Advantage. 12thed. New York MA: McGraw Hill Education.

Rana, D. T. (2018). The future of HR in the presence of AI: A conceptual study. SSRN Electronic Journal,1(2),1-8.

Stone, D. L., Deadrick, D. L., Lukaszewski, K. M., & Johnson, R. (2015). The influence of technology on the future of human resource management. Human Resource Management Review, 25(2), 216–231.

Thite, M. (Ed). (2018). E-HRM: Digital approaches, directions & applications. Publisher: Routledge.