การรับรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน บริษัท ท่าอากาศยานไทยจำกัด (มหาชน)

Main Article Content

ชวลิต เปรมอ่อน
สานิต ศิริวิศิษฐ์กุล
วรรณวิภา ไตลังคะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ (2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลต่อการรับรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิการศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานและลูกจ้าง ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ที่ปฏิบัติงาน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ ค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA Analysis) โดยใช้สถิติค่าเอฟ (F-test) ทดสอบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรอิสระ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเมื่อพบความแตกต่างจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการ LSD ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) 1) ระดับการรับรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2)ปัจจัยส่วนบุคคลในแต่ละด้านได้แก่ เพศ, อายุ, ตำแหน่งงาน, ระดับการศึกษา และอายุการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน พบว่าการรับรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงาน ของพนักงาน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2562). เกี่ยวกับกรม. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2566, จาก www.labour.go.th/index.php/about/about-m1.

ธนา รัตนโสภา. (2560). การรับรู้ความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน บริษัท เอช-วัน พาร์ทส์(ประเทศไทย) จำกัด. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. ปทุมธานี. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). (2565). รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำปี 2565. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.airportthai.co.th/wp-content/uploads/2023/01/sdreport22-th.pdf.

พระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554. (17 มกราคม 2554). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 128 ตอนที่ 4 ก, หน้า 7/25.

วิฑูรย์ สิมะโชคดี; และ วีรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. (2563). วิศวกรรมและการบริหารความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

สุริยนต์ เลิศสุภาผล. (2564). การรับรู้ความปลอดภัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดเชียงราย. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

Elwyn Edward. (2002). Human factors Guidelines For Safety Audits Manual. International Civil Aviation Organization.

French, J. R. P., Caplan, R. D., & Herrison, R. V. (1982). The mechanisms of job stress and strain. London: Wiley.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.