อิทธิพลของการมุ่งเน้นทางการตลาดที่มีผลต่อความอยู่รอดของธุรกิจ จำหน่ายเสื้อผ้าในอาคารชุดโบ๊เบ๊ทาวเวอร์

Main Article Content

ชัชชญา พาณิชยาหิรัญ
ธัญนันท์ บุญอยู่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ได้มุ่งศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยว่า 1) เพื่อศึกษาระดับของการมุ่งเน้นทางการตลาด ความสามารถทางการแข่งขัน และความอยู่รอด และ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความสามารถทางการแข่งขันที่เป็นปัจจัยคั่นกลางระหว่างการมุ่งเน้นทางการตลาดสู่ความอยู่รอดของธุรกิจจำหน่ายเสื้อผ้าในอาคารชุดโบ๊เบ๊ทาวเวอร์ ซึ่งการวิจัยนี้ได้มีรูปแบบของการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายเสื้อผ้าในอาคารชุดโบ๊เบ๊ทาวเวอร์ที่ดำเนินธุรกิจมามากกว่า 5 ปีขึ้นไป ซึ่งมีจำนวน 290 ราย ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย โดยมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัยและสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายเสื้อผ้าในอาคารชุดโบ๊เบ๊ทาวเวอร์มีความคิดเห็นของปัจจัยการมุ่งเน้นการตลาด ความสามารถทางการแข่งขัน และความอยู่รอดของธุรกิจมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกประเด็น โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15, 3.88 และ 4.04 ตามลำดับ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.695, 0.658 และ 0.687 ตามลำดับ และ 2) ผลการทดสอบอิทธิพลคั่นกลาง พบว่า ความสามารถทางการแข่งขันด้านการสร้างความแตกต่าง การเป็นผู้นำด้านต้นทุน และการตอบสนองอย่างรวดเร็วเป็นปัจจัยคั่นกลางระหว่างการมุ่งเน้นทางการตลาดสู่ความอยู่รอดของธุรกิจ โดยมีค่าผลคูณของสัมประสิทธิ์ขอบเขตล่างเท่ากับ 0.026, 0.001 และ 0.138 และขอบเขตบนเท่ากับ 0.164, 0.126 และ 0.293 ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2) มีอำนาจในการพยากรณ์ร่วมเท่ากับร้อยละ 37.60, 38.60, 29.92 และ 66.50


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2566). ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายน 2566. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2566, จาก https://www.oie.go.th/assets/portals/1/fileups/2/files/month/industryeconomicssituat ionreportJune2023.pdf.

ฐิตินันท์ ชารีบุตร และธัญนันท์ บุญอยู่. (2564). ตัวแบบเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจคอมพิวเตอร์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัย เวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 37-48.

ธัญนันท์ บุญอยู่. (2561). อิทธิพลของความสามารถทางนวัตกรรมในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่ถ่ายทอดอิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การ การมุ่งเน้นการตลาด การจัดการความรู้ และการเป็นผู้ประกอบการสู่ความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 8, 44-62.

นิติบุคคลอาคารชุดโบ๊เบ๊ทาวเวอร์. (2566). จำนวนอาคารชุดโบ๊เบ๊ทาวเวอร์. กรุงเทพฯ: โบ๊เบ๊ทาวเวอร์.

ภรนนท์ แดงขาว. (2559). การแบ่งกลุ่มผู้ค้าปลีกที่ซื้อกางเกงแฟชั่นผู้หญิงในตึกโบ๊เบ๊ทาวเวอร์ โดยใช้ตัวแปรพฤติกรรมการเลือกซื้อและด้านความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาด. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

วรัญญา เยาวรัตน์. (2560). ปัจจัยสาเหตุที่ส่งอิทธิพลต่อการพัฒนาเพื่อความอยู่รอดขององค์การธุรกิจในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน). (2565). รายงานการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขาสินค้าแฟชั่น ปี 2565. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2566, จาก https://article.tcdc. or.th/uploads/media/2022/12/2/media_Creative-Industries-Development-Report-Fashion-2022.pdf.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis. (6th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Hair, J. F., Ringle, C. M., & Sarstedt, M. (2011). PLS-SEM: Indeed a silver bullet. Journal of Marketing Theory and Practice, 19(2), 139-152.

Ingsih, K., Dwika, H. A., & Prayitno, A. (2021). The role of market orientation, product innovation and competitive advantage in improving marketing performance at furniture MSMEs. Interdisciplinary Research Review, 16(2), 1-7.

Lawshe, C. H. (2006). A quantitative approach to content validity. Personnel Psychology, 28(4), 563-575.

Likert, R. A. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140, 5-53.

Najib, M., Rahman, A. A. A., & Fahma, A. (2021). Business survival of small and medium-sized restaurants through a crisis: The role of government support and innovation. Sustainability, 13, 1-6.

Preacher, K. J., & Hayes, A. F. (2008). Asymptotic and resampling strategies for assessing and comparing indirect effect in multiple mediator model. Behavioral Research Method, 40(3), 879-891.

Puspaningrum, A. (2020). Market orientation, competitive advantage and marketing performance of small medium enterprises (SMEs). Journal of Economics, Business, and Accountancy Ventura, 23(1), 19-27.