การจูงใจในการตัดสินใจสมัครเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการ ของหน่วยทหารแห่งหนึ่งในพื้นที่จังหวัดลพบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการจูงใจในการตัดสินใจสมัครเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการของหน่วยทหารแห่งหนึ่งในพื้นที่จังหวัดลพบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ทหารกองประจำการที่ร้องขอเข้ากองประจำการ ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี จำนวน 154 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.970 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า 1) การจูงใจในการตัดสินใจสมัครเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการของหน่วยทหารแห่งหนึ่งในพื้นที่จังหวัดลพบุรี ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านความมีเกียรติและศักดิ์ศรี ด้านความก้าวหน้า ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านความมั่นคง และด้านเงินเดือนและสวัสดิการ ตามลำดับ และ 2) การเปรียบเทียบการจูงใจในการตัดสินใจสมัครเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการของหน่วยทหารแห่งหนึ่งในพื้นที่จังหวัดลพบุรี พบว่า ทหารกองประจำการที่มีศึกษาสูงสุดก่อนเข้ารับราชการทหาร รายได้ก่อนรับราชการทหาร รายได้ต่อเดือนของบิดามารดาต่างกัน มีการจูงใจในการตัดสินใจสมัครเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนทหารกองประจำการที่มีสถานภาพสมรส และอาชีพก่อนรับราชการทหารต่างกัน มีการจูงใจในการตัดสินใจสมัครเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการ ไม่แตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองการสัสดี หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน. (2566). สิทธิประโยชน์ของทหารกองประจำการ. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2566,จาก https://sassadee.rta.mi.th/.
กิตติวุฒิ ธรรมมโนวานิช. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกอาชีพของผู้ที่จบโครงการทีช ฟอร์ ไทยแลนด์. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไทยโพสต์ออนไลน์. (2566). ทบ. โชว์ผลสำเร็จ ยอดสมัครเป็นทหาร 35,617 นาย งัดข้อมูล 3 ปีหลังสมัครใจเพิ่มขึ้น. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2566,จาก https://www.thaipost.net/general-news/364477/.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ธาวิน เมืองพุทธ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการ หน่วยมณฑลทหารบกที่ 24 ค่ายประจักษ์ศิลปาคม อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นิรันดร์ แพงไธสง. (2562). มาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมการรับราชการทหารกองประจำการ. การค้นคว้าอิสระปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายมหาชน. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ยรรภพ ตนดี. (2561). ปัญหาพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 : ศึกษาเฉพาะกรณีการเรียกคนเข้ากองประจำการ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รัฐพล ตรีธนะ. (2561). ปัจจัยแรงจูงใจทำให้ทหารกองเกินสมัครใจเข้าเป็นทหารกองประจำการของกรมทหารอากาศโยธินรักษาพระองค์ กองทัพอากาศ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สมคิด บางโม. (2562). องค์การและการจัดการ Organization and Management. กรุงเทพ:บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
อภิลักษณ์ เนียมกล่ำ. (2565). การพัฒนากฎหมายว่าด้วยรูปแบบการเกณฑ์ทหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.