ทัศนคติในฐานะปัจจัยคั่นกลางที่เชื่อมโยงการรับรู้ความง่ายและการรับรู้ประโยชน์ สู่ความตั้งใจใช้บริการในการชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ของผู้ประกอบการในเขตเทศบาลนครอ้อมน้อย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับของการรับรู้ความง่าย การรับรู้ประโยชน์ ทัศนคติ และความตั้งใจใช้บริการชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ของผู้ประกอบการในเขตเทศบาลนครอ้อมน้อย (2) เพื่อศึกษาทัศนคติในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงระหว่างการรับรู้ความง่ายสู่ความตั้งใจใช้บริการชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ของผู้ประกอบการในเขตเทศบาลนครอ้อมน้อย (3) เพื่อศึกษาทัศนคติในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงระหว่างการรับรู้ประโยชน์สู่ความตั้งใจใช้บริการชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ของผู้ประกอบการในเขตเทศบาลนครอ้อมน้อย รูปแบบการวิจัย คือ การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในเขตเทศบาลนครอ้อมน้อย จำนวน 229 ตัวอย่าง โดยการสุ่มอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้างแบบ PLS-SEM ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับของการรับรู้ความง่ายการรับรู้ประโยชน์ ทัศนคติ และความตั้งใจใช้บริการมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) ทัศนคติเป็นตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงระหว่างการรับรู้ความง่ายสู่ความตั้งใจใช้บริการ มีค่าผลคูณของขอบเขตล่างและขอบเขตบนเท่ากับ 0.494 และ 0.559 (3) ทัศนคติเป็นตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงระหว่างการรับรู้ประโยชน์สู่ความตั้งใจใช้บริการมีค่าผลคูณของขอบเขตล่างและขอบเขตบนเท่ากับ 0.551 และ 0.546
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ดวงพร รัดสินทร. (2562). การรับรู้เทคโนโลยีที่มีผลต่อความตั้งใจใช้บริการการชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร .วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เทศบาลนครอ้อมน้อย. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570) เทศบาลนครอ้อมน้อย.กองยุทธศาสตร์ และงบประมาณ เทศบาลนครอ้อมน้อย.
นันทินี บุญยปรารภชัย และประพล เปรมทองสุข. (2566). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์และเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 85-100.
ประกาศ เรื่อง นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.(1 เมษายน 2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 47 ก. หน้า 1-71.
พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560. (24 มกราคม 2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 10 ก. หน้า 1-23.
พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562. (12 มีนาคม 2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 30 ก. หน้า 21-51.
รัชนี ชอบศิลป์ และจุฑามาศ ทวีไพบูลย์วงษ์. (2564). การรับรู้ความง่ายการรับรู้ประโยชน์ทัศนคติและการยอมรับในการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ของพนักงานในบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่งในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดชลบุรี. วารสารบริหารศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 10(1), 36-50.
เสาวลักษณ์ พูลทรัพย์. (2562). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อความตั้งใจใช้บริการชำระเงินสมทบกองทุน ประกันสังคม ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ของสำนักงานประกันสังคม. การค้นคว้า อิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Best, J. W. (1981). Research in Education New Jersey. Englewood Cliffs.
CU-TAXGO. (2566). ระบบจัดการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง.สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2566, จาก https://ltaxgo.net)
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.
Davis, F. D. (1986). A technology acceptance model for empirically testing new end-user information systems. Theory and Results. Sloan School of Management, Massachusetts Institute of Technology.
Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS quarterly, 13(3),319-340.
Francioni, B., Curina, I., Hegner, S. M., & Cioppi, M. (2022). Predictors of continuance intention of online food delivery services: gender as moderator. International Journal of Retail & Distribution Management, 50(12), 1437-1457.
Hair, J. F., Sarstedt, M., Ringle, C. M., & Gudergan, S. P. (2018). Advanced Issues in Partial Least Squares Structural Equation Modeling. Loss Angeles: Sage.
Park, D. Y., & Kim, H. (2023). Determinants of intentions to use digital mental healthcare content among university students, faculty, and staff: motivation, perceived usefulness, perceived ease of use, and parasocial interaction with AI Chatbot. Sustainability, 15(1), 872.
Safari, K., Bisimwa, A., & Buzera Armel, M. (2020). Attitudes and intentions toward internet banking in an under developed financial sector. PSU Research Review, 6(1), 39-58.
Widiar, G., Yuniarinto, A., & Yulianti, I. (2023). Perceived Ease of Use’s Effects on Behavioral Intention Mediated by Perceived Usefulness and Trust. Interdisciplinary Social Studies, 2(4), 1829-1844.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper