การประเมินโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยใช้ CIPP Model ของโรงเรียนเกาะพะงันศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร

Main Article Content

เจนจิรา วงศ์ทอง
จุรีย์ สร้อยเพชร
วราลักษณ์ ศรีกันทา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) โดยใช้ CIPP Model ของโรงเรียนเกาะพะงันศึกษา และ 2) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) ของโรงเรียนเกาะพะงันศึกษา กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจงกับครู คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน ครู และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 141 คน โดยใช้เครื่องมือการวิจัย 5 ชนิด คือ 1) แบบประเมินบริบท 2) แบบประเมินปัจจัยนำเข้า 3) แบบประเมินกระบวนการ 4) แบบประเมินผลผลิต และ 5) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการโดยภาพรวม ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านผลผลิตโดยภาพรวม ครูอยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนและผู้ปกครองอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางพัฒนาโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ของโรงเรียนเกาะพะงันศึกษา ผลการสัมภาษณ์ครูและคณะกรรมการสถานศึกษา ทำให้ได้แนวคิดที่ส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้โดย พัฒนาหลักสูตรที่ครอบคลุม สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ส่งเสริมการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง และส่งเสริมการทำงานร่วมกันของครู ข้อเสนอแนะ โครงการควรมีตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ รายละเอียดของกิจกรรมและการดำเนินงาน บันทึกการนิเทศ ติดตาม และมีผลผลิตที่ครอบคลุมทุกด้าน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ, (2565). ข่าวประชาสัมพันธ์นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2565. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

กิรณา สังข์เสวก และธีรศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ. (2556). การประเมินโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากลกรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลนครปฐม.วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 181-190.

เกสร คำวิโส. (2564). การประเมินโครงการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดงเมือง (ดงเมืองวิทยา) โดยประยุกต์ใช้การประเมินรูปแบบซิปป์ (CIPP model).วารสารวิชาการแสงอีสาน, 18(2), 87-95.

พนิดา หาญตระกูล และ วัลลภา เฉลิมวงศาเวช. (2562). การประเมินโครงการมีความสุขสนุกกับ 4H (Head Heart Hand Health) โดยใช้ตัวแบบซิป (CIPP Model) ของโรงเรียนเทศบาลวัดช่องลม (เปี่ยม วิทยาคม) สังกัดเทศบาลนครสมุทรสาคร.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร,17(2), 172-187.

มีชัย เอี่ยมจินดา, ณัฐกิตติ์ นาทา และ บุษบา บัวสมบูรณ์. (2560). การวิจัยและประเมินโครงการสืบสานภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal Silpakorn University,10(3), 1560-1576.

วิฑูรย์ แก้วใหญ่. (2566). รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมศักยภาพการอ่านเขียนของผู้เรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โดยใช้รูปแบบ KURUSAPA MODEL โรงเรียนคุรุสภา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. Journal of Modern Learning Development, 8(1),16-31.

เวชพงศ์ หนูด้วง และ สุจินต์ หนูแก้ว. (2565). การประเมินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนบ้านบ่อหิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2. วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์, 7(2), 953-968.

สมศักดิ์ จี้เพ็ชร์. (2563). การประเมินโครงการกิจกรรมเพื่อสังคมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้การประเมินแบบ CIPP Model โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) นนทบุรี. วารสารจันทรเกษมสาร, 26(1), 103-115.

Stufflebeam, D. L. (1971). The Relevance of the CIPP Evaluation Model for Educational Accountability. Journal of Research and Development in Education, 5, 19-25.