ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน ของโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ

Main Article Content

มนต์ชัย ปัญญุเบกษา
ทินกร พูลพุฒ
รวงทอง ถาพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ (2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลโรงเรียนของโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลโรงเรียนของโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ และ (4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนของโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรที่เป็นผู้สอนวิชาพื้นฐาน ผู้ฝึกสอนกีฬา และเจ้าหน้าที่ สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ จำนวน 273 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) ระดับประสิทธิผลโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (3) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมและประสิทธิผลโรงเรียนกีฬามีความสัมพันธ์กันเชิงบวกในระดับปานกลางถึงระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (4) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สามารถอธิบายความผันแปรของประสิทธิผลโรงเรียนของโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาได้ร้อยละ 84.00  (R2 = .840)


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คำพร กองเตย. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชูศักดิ์ ตินอาสา. (2560). โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนกีฬา. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(1), 47-55.

นงลักษณ์ วิรัชชัย, ศจีมาศ ณ วิเชียร และพิศสมัย อรทัย. (2551). การสำรวจและสังเคราะห์ตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม(ศูนย์คุณธรรม.

เนาวรัตน์ รอดเพียน. (2560). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีนครินทร์.

พินัน รัตนสุภา. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนกีฬาเทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. โรงเรียนกีฬาเทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช.

ศาศวัต กันเทพา. (2560). ศึกษาสภาพการบริหารจัดการโรงเรียนกีฬาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสังกัดสถาบันการพลศึกษา. วารสารการริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, 4(14), 50-56.

สถาบันการพลศึกษา. (2561). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนกีฬา สังกัดสถาบันการพลศึกษา 2561. กลุ่มประกันคุณภาพการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน. กองวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา สถาบันการพลศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2552). รายงานประจำปี 2552 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

Brown, M. E., Treviño, L. K., & Harrison, D. A. (2005). Ethical leadership: A social learning perspective for construct development and testing. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 97, 117–134.

Hoy, W.K. & Miskel, C. G. (2008). Educational administration: Theory, research and practice. (8th ed.). New York: McGraw-Hill.

Hoy, W. K. & Miskel, C. G. (2013). Educational administration: Theory, research, and practice. (9th ed.). New York: McGraw-Hill.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Northouse, P. G. (2002). Desired characteristics of ethical leader in business, educational, political, and religious organizations. From East Tennessee. A Delphi investigation.

Yulk, G. A. (2001). Leadership in organizations. (4th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.