รูปแบบการยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

ณภาภัช ก้องสิริบวรกุล
นิษฐ์วดี จิรโรจน์ภิญโญ
กมลมาลย์ ไชยศิริธัญญา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบองค์ประกอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ยืนยันรูปแบบปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา อาชีวศึกษาเอกชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพควบคู่กันอย่างต่อเนื่อง ผสมผสานและบูรณาการผลของการวิจัยเข้าด้วยกัน เพื่อความสมบูรณ์และความเชื่อถือของผลการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร รองผู้บริหารและครูผู้สอนของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวนสถานศึกษา 189 แห่ง จำนวนประชากร 945 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร รองผู้บริหาร และครูผู้สอนของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 275 คน ผู้วิจัยได้กำหนดการสุ่มตัวอย่างจากประชากรที่ใช้เป็นขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยการเปิดตารางของเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 1 พบว่า รูปแบบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษา เอกชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 5 องค์ประกอบ ประกอบด้วย การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม การจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ดี การพัฒนาบุคลากรคุณภาพ เน้นคุณภาพงานวิชาการ และการจัดการความรู้เพื่อการเรียนรู้ ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 2 พบว่า รูปแบบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา อาชีวศึกษาเอกชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้ง 5 องค์ประกอบ 19 ปัจจัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันตพัฒน์ มณฑา. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม.

ชุติมา จันทร์ประเสริฐ กมลมาลย์ ไชยศิริธัญญา, สุขุม มูลเมือง (2564). รูปแบบความเป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์. The Journal of Research and Academics,4(4) ,143-156.

ชุลีพร อร่ามเนตร. (2562). ยกระดับคุณภาพคนไทย 4.0 เรียนรู้ สร้างนวัตกรรม พลเมืองเข้มแข็ง.สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2566, จาก https://www.komchadluek.net/news/edu-health/365993.

เบญจวรรณ ศรีคำนวล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในจังหวัดลำปาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2), 2535-2548.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สภาวะการศึกษาไทยปี 2559/2560 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Fayol Henry. (1967). General and Industrial Management. New York: Pittnans Publishing Corporation

Henderson, Iain S. (2008). Managerial Competencies: three dimension to managerial effectiveness. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2566, จาก http://www.alummi.absmba.com/ablmmi/pdf/managerial competencies.pdf.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3),607-610.

McClelland D C. (1971). Assessing Human Motivation. General Learning Press.New York.

Parker. (2018). Factors that contribute to a successful secondary vocational education program in the state of Mississippi. Mississippi: University of Southern Mississippi.