สมรรถนะดิจิทัลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านการศึกษาในจังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
สมรรถนะดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรด้านการศึกษาที่ต้องนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาระดับสมรรถนะดิจิทัลของบุคลากรด้านการศึกษาในจังหวัดลำปาง และศึกษาสมรรถนะดิจิทัลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านการศึกษาในจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรด้านการศึกษาในจังหวัดลำปางที่เป็นครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดลำปาง จำนวน 335 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ (Google Form) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับสมรรถนะดิจิทัลของบุคลากรด้านการศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับ ได้แก่ ด้านการรู้ดิจิทัล ด้านการปรับตัวการเปลี่ยนแปลงดิจิทัล และด้านการใช้ดิจิทัล 2) ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านการศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับ ได้แก่ ด้านการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ด้านความสามารถด้านการสอน และด้านความสามารถในการวางแผน 3) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า สมรรถนะดิจิทัลด้านการรู้ดิจิทัล ด้านการปรับตัวการเปลี่ยนแปลงดิจิทัล และด้านการแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือดิจิทัลส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านการศึกษาในจังหวัดลำปางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กณิชชา ศิริศักดิ์. (2559). การวิจัยหลักสูตรวิชาชีพครูเพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัล. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฎิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กิตติพศ โกนสันเทียะ. (2565). สมรรถนะดิจิทัล สมรรถนะใหม่สำหรับครูยุคปัจจุบัน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ, 22(2),14–23.
จันทร์จิรา เหลาราช. (2564). การปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลและผลกระทบต่อองค์กร. มนุษยศาสตร์สาร, 22(1), 227-240.
บัญชาลักษณ์ ลือสวัสดิ์, จอมพงศ์ มงคลวนิช และปรัชชญนันท์ นิลสุข. (2566). รูปแบบการพัฒนาครูอาชีวศึกษาด้านสมรรถนะดิจิทัล วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาครัฐ สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 19(1), 108 – 141.
ประเสริฐไชย สุขสะอาด และปานจิตร์ หลงประดิษฐ์. (2566). ความต้องการจำเป็นทางด้านสมรรถนะดิจิทัลในช่วงเวลาวิกฤติของผู้บริหารและครูพลศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพื้นที่ภาคตะวันตก. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการมหาวิทยาลัยมหิดล, 10(1),1 – 17.
พยอม วงศ์สารศรี. (2542). องค์การและการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุภาฯ.
พิมพ์กมล ไชยสมภาร. (2562).การนำนโยบายรัฐบาลดิจิทัลไปปฏิบัติ กรณีศึกษาสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วราวุฒิ มุขกระโทก และกุลจิรา รักษนคร. (2566). สมรรถนะดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 6(17), 68–79.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561).กรอบสมรรถนะด้านดิจิทัล สำหรับพลเมืองไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.
Techataweewan, W. and Prasertsin, U. (2018). Development of digital literacy indicators for Thai undergraduate students using mixed method research. Kasetsart Journal of Social Sciences, 39(2), 215-221.